บทที่ 10 การใช้โปรแกรม Microsoft Access


คุณสมบัติ DataType
คุณสามารถใช้คุณสมบัติ DataType เพื่อระบุชนิดของข้อมูลที่จัดเก็บในเขตข้อมูลตาราง แต่ละเขตข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยชนิดข้อมูลเพียงชนิดเดียว การตั้งค่า คุณสมบัติ DataType ใช้การตั้งค่าต่อไปนี้

การตั้งค่า ชนิดของข้อมูล และขนาด

Text (ค่าเริ่มต้น) ข้อความ หรือการรวมกันของข้อความและตัวเลข เช่นเดียวกับตัวเลขที่ไม่มีการคำนวณ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ สามารถมีได้สูงสุดถึง 255 อักขระ หรือมีความยาวที่ตั้งค่าโดยคุณสมบัติ FieldSize ค่าใดค่าหนึ่งที่น้อยกว่า Microsoft Access จะไม่จองพื้นที่ว่างสำหรับส่วนที่ไม่ได้ใช้ของเขตข้อมูลที่เป็นข้อความนี้

Memo ข้อความที่ยาว หรือข้อความและตัวเลขผสมกัน สามารถมีสูงสุดได้ถึง 65,535 อักขระ (ถ้าเขตข้อมูลที่เป็นชนิด Memo นี้ถูกจัดการผ่าน DAO และมีเฉพาะข้อความ และตัวเลข [ไม่ใช่ข้อมูลแบบไบนารี] ที่ถูกจัดเก็บไว้แล้ว ขนาดของเขตข้อมูล Memo นี้ถูกจำกัดโดยขนาดของฐานข้อมูล)

Number ข้อมูลตัวเลขซึ่งถูกใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตั้งค่าชนิด Number ที่ระบุ ให้ดูที่หัวข้อคุณสมบัติ FieldSize 1, 2, 4 หรือ 8 ไบต์ (16ไบต์ ถ้าคุณสมบัติ FieldSize ถูกตั้งค่าเป็น Replication ID)

Date/Time ค่าของวันที่และเวลา ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 100 ถึงปีคริสต์ศักราช 9999 ขนาด 8 ไบต์
Currency ค่าเงินตราและข้อมูลที่เป็นตัวเลขซึ่งใช้ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งมีทศนิยมได้ตั้งแต่ 1 ถึง 4 หลัก มีความแม่นยำถึง 15 หลักทางด้านซ้ายของจุดทศนิยม และ 4 หลักทางด้านขวาของจุดทศนิยม ขนาด 8 ไบต์

AutoNumber ตัวเลขที่เรียงลำดับ (เพิ่มขึ้นทีละ 1) โดยไม่ซ้ำ หรือตัวเลขสุ่มที่กำหนดโดย Microsoft Access เมื่อใดก็ตามที่มีระเบียนเพิ่มเข้ามายังตาราง เขตข้อมูลที่เป็น AutoNumber ไม่สามารถปรับปรุงได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ให้ดูที่หัวข้อคุณสมบัติ NewValues ขนาด 4 ไบต์ (16 ไบต์ถ้าคุณสมบัติ FieldSize ถูกตั้งค่าเป็น Replication ID)

Yes/No ค่า Yes และ No และเขตข้อมูลที่มีเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งในสองค่านี้เท่านั้น (Yes/No, True/False หรือ On/Off) ขนาด 1 บิต

OLE Object วัตถุ (เช่น กระดาษคำนวณของ Microsoft Excel, เอกสาร Microsoft Word, กราฟิก, เสียง หรือข้อมูลไบนารีอื่น ๆ) ที่ถูกเชื่อมโยงกับ หรือถูกฝังตัวอยู่ในตาราง Microsoft Access ขนาดสามารถมีได้สูงสุดถึง 1 กิกะไบต์ (จำกัดตามขนาดพื้นที่ว่างของดิสก์)

Hyperlink ข้อความ หรือการรวมกันของข้อความและตัวเลขที่จัดเก็บอยู่ในรูปของข้อความ และถูกใช้เป็นที่อยู่การเชื่อมโยงหลายมิติ โดยที่อยู่การเชื่อมโยงหลายมิติสามารถมีได้ถึง 3 ส่วน ดังนี้ text to display ข้อความที่ปรากฏในเขตข้อมูลหรือตัวควบคุม address เส้นทางไปยังแฟ้ม (เส้นทาง UNC ) หรือเพจ (URL) subaddress ตำแหน่งที่ตั้งภายในแฟ้มหรือเพจ screentip ข้อความที่แสดงขึ้นมาเป็นคำแนะนำเครื่องมือ วิธีที่ง่ายที่สุดในการแทรกที่อยู่การเชื่อมโยงหลายมิติในเขตข้อมูล หรือตัวควบคุม คือการคลิกที่ การเชื่อมโยงหลายมิติ บนเมนู แทรก แต่ละส่วนใน 3 ส่วนของชนิดข้อมูล Hyperlink สามารถประกอบด้วยอักขระมากถึง 2048 ตัว

ตัวช่วยสร้างค้นหา สร้างเขตข้อมูลที่อนุญาตให้คุณเลือกค่าจากตารางอื่น หรือจากรายการของค่าโดยใช้กล่องเลือกรายการ หรือกล่องคำสั่งผสม การคลิกที่ตัวเลือกนี้จะเป็นการเริ่มต้นตัวช่วยสร้างการค้นหา ซึ่งจะสร้างเขตข้อมูลการค้นหา หลังจากที่ตัวช่วยสร้างทำเสร็จแล้ว Microsoft Access จะตั้งค่าชนิดข้อมูลโดยยึดตามค่าที่ถูกเลือกในตัวช่วยสร้าง ขนาดเดียวกับเขตข้อมูลคีย์หลักที่ใช้ดำเนินการค้นหา ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีขนาด 4 ไบต์

คุณสามารถตั้งค่าคุณสมบัตินี้เฉพาะในส่วนบนของมุมมองออกแบบตารางได้เท่านั้น

Read Users' Comments (0)

บทที่ 9 เทคโนโลยีสมัยใหม่


9.1 ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งทางราชการ และเอกชน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
9.1.1 ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Project Agency ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
9.1.2 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว และใช้โมเด็มความเร็วเพียง 2,400 บิตต่อวินาทีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก โดยมีความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที และต่อมาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ โดยเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ไทยสาร ซึ่งให้บริการทางการศึกษาและวิจัย
9.1.3 ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต คือ สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้ ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. เวิลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW )
2. โกเฟอร์ (Gopher)
3. เทลเน็ต (Telnet)
4. เวย์ส(WAIS } Wide Area Information Sevice )
5. อาร์ชี ( Archie)
World Wide Web : WWW
เป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยให้ผุ้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปข้อความหลายมิติ WWW มีคุณสมบัติดังนี้
- User – Friendily ที่ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ บนหน้าจอ และเข้าถึงส่วน ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งที่ยุ่งยาก
- เอกสารในรูปมัลติมิเดีย โดยแต่ละหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์กราฟิก ภาพ วีดีโอและเสียง
- มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้และ Server
Gopher
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่มี WWWโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา(Minnesota) จุดประสงค์ก็เพื่อค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต การค้นหาสารสนเทศทำได้โดยการพิมพ์คำหรือวลีลงไประบบจะค้นหาถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาแสดงบนหน้าจอในรูปของข้อความ ปัจจุบัน Browser ก็ช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ Gopher
Telnet
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็น Client ของTelnet
(Telnet จะใช้กับเครื่องเมนเฟรมซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย แต่เครื่องเมนเฟรมนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง )


WAIS (Wide Area Information Service )
เป็นเครื่องมือในการค้นหาฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยระบบนี้จะมีวิธีดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้เห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว
Archie
ระบบนี้เป็นการค้นหาข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนของการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล ผู้ใช้จะต้องเข้าไปค้นหาก่อนว่าข้อมูลที่ตนเองต้องการนั้นเก็บอยู่สถานที่ใดจากนั้นจึงจะเข้าไปค้นหาที่สถานที่ที่ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่อไป

9.1.4 เว็บบราวเซอร์ (Web Browser )
Web Browser เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น WWW ซึ่ง Web Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ โฮสต์ เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ
Web browser เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ น่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน
9.1.5 ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E – Mail (Electronics mail) ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ
- แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง
- แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้ โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
- การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน
- ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ
- แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์ ดนตรี และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้
- เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ก็คือ E – Commerce

9.1.6 ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง
- จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
- อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้ เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
- หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้ เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล เป็นต้น

9.1.7 ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ โปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP
TCP/IP คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ ไอพีแอดเดรส (IP Address ) เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่ง ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรส เช่น 202.44.202.3
ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท องค์กร เช่น nasa.gov เป็นต้น
ความหมายของโดเมนเนม ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น 6 ประเภท
1. .com - กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
2. ede - กลุ่มกี่ศึกษา (Education)
1. .mit - กลุ่มองค์การทหาร (Military)
2. .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย (Network Services)
3. .org - กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
4. .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
(International)
ตัวอย่าง เช่น
www.ipst.ac.th เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac และ .th หมายถึง Thailand นั่นเอง
ความหมายของโดเมนย่อยในไทย
” .ac สถาบันการศึกษา (Academic)
” .co องค์กรธุรกิจ(Commercial)
” .or องค์กรอื่น ๆ(Organization)
” .net ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก (Networking)
” .go หน่วยงานของรัฐบาล(Government)

9.1.8 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1. 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Pentium 233 ขึ้นไป
2. 2. หน่วยความจำ (RAM) 64 MB. ขึ้นไป
3. 3. ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.2 GB.ขึ้นไป
4. 4. จอภาพแบบ SVGA
5. 5. โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 33.6 Kbps-56 Kbps
6. 6. โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 1 คู่สาย

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem ) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต “หลุด” ได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก จะใช้สาย Lease Line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต
- ISP (Internet Service Provider ) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว
- การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้
1. ซื้อแบบ Package มาทดลองใช้ ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน 1 เดือน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ
1. ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่ WWW แต่ไม่ให้บริการ E – Mail เป็นต้น
2. คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่ มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่
9.2 สำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้
- พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น
- มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
- การประชุมทางไกล (Video Teleconference)

9.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง เพราะ EDI เป็นการส่งเอกสารธุรกิจหรือข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับโดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ EDI ต่างจาก E – Mail ตรงที่ว่า การส่ง E –Mail นั้นจะต้องดำเนินการโดยคนทั้งในการส่งและการรับ แต่ EDI นั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการเองโดยอัตโนมัติ
ประโยชน์ของ EDI ก็คือ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร ประหยัด แรงงานคนในการบันทึกข้อมูล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

9.4 ทางด่วนข้อมูล
ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway ) เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย ลักษณะของทางด่วนข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)
9.5 ระบบรักษาความปลอดภัย
- สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
- สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า – ออกได้ เป็นต้น
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ
- ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้ ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่ 2 แห่ง ขึ้นไป
- มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ โดยการกำหนดรหัสผ่าน
ให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ

Read Users' Comments (0)

บทที่ 8 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์




  1. 8.1 ความหมายของการสื่อสาร
    การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications ) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านทางช่องสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
    วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
    ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
    1. ตัวส่งข้อมูล
    2. ช่องทางการส่งสัญญาณ
    3. ตัวรับข้อมูล

    8.2 การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
    มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open System Interconnection Model ) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้
    จุดมุ่งหมายของการกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
    1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
    2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
    3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
    4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบสำเร็จมาแล้ว
    5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่าย ๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
    6. มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
    7. มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น

รูปมาตรฐาน OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน

7 Application

6 Presentation

5 Session

4 Transport

3 Network

2 Data Link

1 Physical




1. ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ - ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารหรือสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้
2. ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจ คอยควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ ชั้น Data Link นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ
3. ชั้น Network มีหน้าที่กำหนดเส้นทางของข้อมูลที่ส่ง - รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยะทางที่สั้นที่สุด
4. ชั้น Transport มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันข้อมูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้น ไปถึงปลายทางจริง ๆ
5. ชั้น Session มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ
6. ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ

8.3 การส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับส่งหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
8.3.1 รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียวหรือ ซิมเพล็กซ์ ( One – Way หรือ Simplex ) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือ ข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

2. แบบกึ่งทิศทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ ( Haft – Doplex ) เป็นการสงข้อมูลแบบสลับการส่งและการรับไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือ จะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กเต็ม (Full – Duplex ) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่น การพูดโทรศัพท์

8.4 ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
8.4.1 แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair ) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair ) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา และการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลียวแบบหุ้มฉนวน
สาย Coaxial สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเซียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งยากกว่า
ใยแก้วยำแสง ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบาง คล้าย ๆ เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง
ข้อดีของใบแก้วนำแสง คือ
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
8.4.2 แบบไม่มีสาย เช่น ไมโครเวฟ และดาวเทียม
ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ – ส่ง คือ จานสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่ห่างกันประมาณ 25 – 30 ไมล์ ข้อดีของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้าง และการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ถ้าระหว่างจานสัญญาณไมโครเวฟมีสิ่งกีดขวางก็จะทำให้การส่งสัญญาณไม่ดีหรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครวฟนี้จะใช้กรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่า
ดาวเทียม (Satellite) มีลักษณะการส่งสัญญาณคล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ – ส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ ดาวเทียมจะทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดีของการสื่อสารผ่านดาวเทียม คือ ส่งข้อมูลได้มากและมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือ ถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

8.5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน
- เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
ประเภทของระบบเครือข่าย
โดยแบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็น
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN )
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือ ภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด ตัวอย่าง เช่น เคเบิลทีวี
3. เครือข่ายระดับประเทศ ( Wide Area Network : WAN )
เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด ตัวอย่าง เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม
4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network )
เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม

8.6 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
8.6.1 แบบดาว เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer ) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุด ต่าง ๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูก ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้การสื่อสารจึงทำให้การตอบสนองที่รวดเร็ว การส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่น ๆ การควบคุมการรับ – ส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
ข้อดี
1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
2. เนื่องจากการรับ - ส่ง ข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์ทั้งหมด จึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ทีแยกออกจากกัน
4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง

8.6.2 แบบวงแหวน (Ring Network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน การส่งข้อมูลจะส่งผ่านไปตามสายวงแหวนดดยกำหนดแอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งผ่าน ๆ ทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์
ข้อดี
1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิด
เหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง
2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลาย ๆ สถานีพร้อมกัน
3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร
ข้อเสีย
1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี
3. เวลาจะส่งข้อมูล จะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้
4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า
8.6.3 แบบบัส (Bus Network ) มีลักษณะคล้ายวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร 1 สาย โดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง 2 สถานี จะทำผ่านทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุม ดังนั้นถ้าหลาย ๆ สถานีต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่าง แล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี
1. โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
2. ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก
3. การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ
4. หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้น ๆ แต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ
ข้อเสีย
1. หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก
2. หาสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
8.6.4 แบบผสม (Hybrid Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน คือ จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

8.7 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
8.7.1 โมเด็ม (Modem ) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับ และแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอนาล็อกเมื่อต้องการข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร
กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation ) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator)
กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน
(Demodulation ) โมเด็มทำหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)
โมเด็มที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภท ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 6 โมเด็มในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
8.7.2 เกตเวย์ ( Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลัก คือ ช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าซึ่งลักษณะไม่เหมือนกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
8.7.3 เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
8.7.4 บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกันของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย
8.7.5 รีเพอร์เตอร์ (Pepeater) รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกล ๆ สำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณ ข้อมูลที่เริ่มจะเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิทัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณ เพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกล ๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

Read Users' Comments (0)

บทที่ 7 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


7.1 ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและเกิดการประมวลผล เราสามารถแบ่งออกตามหน้าที่การทำงานไดเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
เป็นฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นหัวใจของการทำงาน เพราะซีพียูจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลมาทำการประมวลผลแล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปยังหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ หน่วยประมวลผลกลางนี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ
หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic And Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่ ในการคำนวณ
หน่วยควบคุม ( Control Unit )
ทำหน้าที่ ควบคุมกลไกการทำงานของระบบ ทั้งหมด

2. หน่วยความจำ ( Memory )
หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รับส่งสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะมีสภาพเป็น เปิดและปิดโดยใช้รหัสเลขฐานสอง คือ เลข 0 และ 1 ซึ่งแต่ละตัวเรียกว่า บิต ( Binary Digit : Bit ) โดยที่อักษร 1 ตัวจะเกิดจากเลขฐานสอง 8 บิต ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ไบต์ ( Byte )
Note
1 กิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB ) = 210 =1,024 ไบต์ (Byte)
1 เมกกะโลไบต์ ( Megabyte หรือ MB ) = 210 KB =1,048,576 ไบต์ (Byte)

ประเภทของหน่วยความจำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
หน่วยความจำหลัก ( Main memory ) คือ หน่วยความจำที่อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วย
หน่วยความจำประเภทนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้
ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory )
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Non Volatile Memory )
ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งออกได้เป็น
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว( Read - Only Memory ) หรือรอม
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( Random Access Memory )หรือแรม
หน่วยความจำรองหรือหน่วยความจำภายนอกเครื่อง (Secondary storage ) คือ สิ่งที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลหรือโปรแกรมเพื่อเก็บไว้ใช้งานต่อไป การใช้หน่วยความจำรองถือว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อที่หรือความจุในการบันทึกมีจำกัด
3. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device )
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์รับเข้าได้แก่
- จอยสติ๊ก ( Joystick )
- ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer)
- ปากกาแสง ( Light pen)
- เทอร์มินัล ( Terminal ) ฯลฯ
4. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device )
ทำหน้าที่ แสดงผลจากการประมวลผลข้อมูล ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์ส่งออกได้แก่
- เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง
- เครื่องเทปแม่เหล็ก
- เครื่องเจาะบัตร
- หน่วยจานแม่เหล็ก

*** อุปกรณ์บางชนิดเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและอุปกรณ์ส่งออก เราเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ ว่า I/O (Input / Output device )
7.2 ซอฟต์แวร์ ( Software)
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนดพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ก็จะไปควบคุมกาทำงานของฮาร์ดแวร์รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน เช่น การจัดสรรพื้นที่การใช้หน่วยความจำหรือลำดับการพิมพ์ผลของเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกเครื่องจำเป็นจะต้องมี ตัวอย่างระบบปฏิบัติการใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เอ็มเอส - ดอส (MS - DOS)
- วินโดวส์ ( Windows )
- ยูนิกส์ (UNIX) เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร ด้านการจัดการฐานข้อมูล หรือการทำงานภายในโรงเรียน เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์นับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ การเรียนรู้งานก็ทำได้ง่าย ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ซอฟต์แวร์ทั่วไป หรือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Software Packages ) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ไม่ได้มุ่งเน้นในการทำงานใด ๆ เจาะจงมากนัก แต่ผู้ใช้จะต้องนำไปประยุกต์หรือปรับตามการทำงานของตนเอง หรือนำไปพัฒนาเพื่อสร้างชิ้นงาน ราคาจึงไม่สูงมากนัก ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จได้
- Microsoft Word
- Microsoft Excel
- Microsoft PowerPoint
- Microsoft Access
- SPASS ( โปรแกรมวิเคราะห์สถิติเพื่อการวิจัย )
- Adobe Photoshop
- Macromedia Dreamweaver (ใช้ในการสร้างสรรค์เว็บเพจ)
ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ใช้สำหรับงานจำเพาะเจาะจง เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมสต๊อก เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักราคาสูงเพราะต้องพัฒนาโดยบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีความต้องการซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ครบถ้วนตรงตามลักษณะของ องค์กรนั้น ๆ

7.3 ข้อมูล (Data)
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุ หรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ได้แก่
- มีความถูกต้อง
- มีความเที่ยงตรงสามารถเชื่อถือได้
- มีความเป็นปัจจุบัน
- สามารถตรวจสอบได้
- มีความสมบูรณ์ชัดเจน

7.4 บุคลากร ( People )
บุคลากร เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มผู้ใช้ อาจจะเป็นผู้มีความรู้หรือไม่มีความรู้ในการใช้ระบบเลยก็ได้ เราจะเรียกกลุ่มผู้ใช้นี้ว่า End Users ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการออกแบบพัฒนาก็จะต้องยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
กลุ่มนักคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ( Director Computer Manager : EDP ) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ จัดโครงการและวางแผนงานภายในหน่วยงาน
- นักวิเคราะห์ระบบ ( System Analyst : SA ) มีหน้าที่วิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบระบบงาน ตามความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด โดยนักวิเคราะห์ระบบงานนี้จะเป็นผู้ส่งงานต่อให้โปรแกรมเมอร์เพื่อเขียนต่อโปรแกรมต่อไป
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่ นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้
- ผู้ควบคุมเครื่อง (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร
- พนังงานจัดเตรียมข้อมูล ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานต่อไปได้ เช่น การคีย์ข้อมูลลงแผ่นดิสก์

Read Users' Comments (0)

บทที่ 6 คอมพิวเตอร์


6.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(COMPUTER) ตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ซึ่งอาจจะหมายถึง เครื่องคำนวณที่เป็นเครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องที่เป็นกลไกก็สามารถจัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ส่วนความหมายของคอมพิวเตอร์จากพจนานุกรมฉบับราบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณผลในรูปแบบหนึ่ง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
6.2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer)
จะมีลักษณะเป็นวงจอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนให้ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยจะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ การรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องกันโดยรับจากแหล่งที่เกิดโดยตรงแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ ตัวอย่างของเครื่องชนิดนี้มักพบได้ในงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในรูปของกราฟ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจคลื่นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
หลักการคำนวณจะเป็นแบบลูกคิดหรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขฐานสิบก่อนแล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองแล้วให้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความแม่นยำกว่าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
ข้อจำกัดของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ คือต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “สื่อข้อมูล” ในการบันทึกข้อมูลแต่อนาล็อกคอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
เป็นการนำอนาล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดียิ่งขึ้น
6.3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
การแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์นี้จะแบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น
1. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951-1958)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เพราะมีขนาดใหญ่ จึงมีปัญหาเรื่องความร้อน และไส้หลอดขาดบ่อย
- ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และหลอดสุญญากาศ
- การทำงานใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language)
- คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจคือ UNIVAC I
- ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกได้แก่ มาร์ค วัน (MARK I) , อีนิแอค(ENIAC), ยูนิแวค(UNIVAC)
ข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ ก่อนใช้งานต้องอุ่นให้หลอดสุญญากาศเสียก่อน จึงจะใช้งานได้ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที และเมื่ออุ่นได้ที่แล้วก็มักจะร้อนเกิดไปทันที และเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่และใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องเก็บไว้ในห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ที่สำคัญหลอดสุญญากาศนั้นมีอายุการใช้งานที่ต่ำ คือเฉลี่ยแล้วจะใช้ได้เพียง 12 ชั่วโมง เท่านั้น
2. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (ค.ศ.1959-1964)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์(Transister) แทนหลอดสุญญากาศ
- มีความเร็วที่สูงกว่า มีความถูกต้องแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า
- เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยและราคาถูกลง
- ใช้วงแหวนแม่เหล็กที่ทำขึ้นจากสาร ferromagnetic เป็นหน่วยเก็บความจำ
- ในช่วงต้น ค.ศ. 1960 ได้เริ่มมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก และดิสก์ มาใช้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล
3. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (ค.ศ.1965-1971)
- เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคอมพิวเตอร์เพราะมีการคิดค้น วงจรรวม (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว
- เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้กำลังไฟน้อย
- โครงสร้างของคอมพิวเตอร์มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น
- ภาษาที่ใช้ได้แก่ภาษาโคบอล(COBOL) และภาษาพีแอลวัน (PL/I)
4. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (ค.ศ.1972-1980)
- เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration :VLSI)
- ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงหรือไมโครคอมพิวเตอร์เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้
- ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธภาพมากขึ้น
- ใช้สื่อข้อมูลพวกเทปแม่เหล็ก หรือจานแม่เหล็ก
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาใหม่ ๆ เช่นภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาปาสคาล(PASCAL)และภาษาซี (C )
- ซอฟแวร์มีการพัฒนามาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากขึ้น
5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (ค.ศ 1980-ปัจจุบัน)
- คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และแก้ปัญหา โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องกาใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้
- คอมพิวเตอร์ยุคนี้เรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) “
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านกราฟิกอย่างแพร่หลายมากขึ้น
- ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลงและมีความเร็วสูง เช่น โน๊ตบุ๊ค (NoteBook)
- การปฏิบัติงานต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์แทนแรงงานมนุษย์
- ซอฟแวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์
6.4 ชนิดของคอมพิวเตอร์
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาสั้น ๆ
- เครื่องมีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ ที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massivily Parallel Processing :MPP)
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframecomputer)
- มีขนาดรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์
- สาเหตุที่เรียกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในตู้จะมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
- ใช้งานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
- ราคาสูงที่สุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป
- มีการประมวลผลที่รวดเร็วและเก็บข้อมูลได้มหาศาล
- ต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีและอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
- ข้อเด่นของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์คือ การทำงานโดยมีระบบศูนย์กลางและกระจายงานไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ระบบเอทีเอ็ม
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้หลายคในเวลาเดียวกัน คือสามารถเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง
- ใช้ในงานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดกลาง
- ขนาดเล็กกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการทำงานและราคาก็ต่ำกว่าด้วย
4. สถานีวิศวกรรม
- ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิกและนักออกแบบ
- จุดเด่นของสถานีงานวิศวกรรมคือเรื่องกราฟิก
- ราคาของสถานีวิศวกรรมจะแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก
- การใช้งานก็จะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้โดยเฉพาะ
- หากนำสถานีวิศวกรรมมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จำทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
5. ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
- เครื่องมีขนาดเล็กและมีราคาถูก อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer:PC)หรือ พีซี
- มีทั้งแบบตั้งโต๊ะ (Desktop),แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop),ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์(Palmtop) และโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ (Note Book)
- สามารถใช้งานได้ง่าย
- สามารถใช้งานในลักษณะเครือขาย และทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลได้ด้วย
- มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์
6.5 หน่วยประมวลกลาง
1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบไปด้วย
- หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithematic and Logic Unit:ALU)
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ
- หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานกันกับหน่วยความจำ และหน่วยคำนวณและตรรกะ
ซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันคือ ไมโครชิปหรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทของหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด
- หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน(Nonvolatile Memory)หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
2. ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory :ROM)หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามารถอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
- หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memry :RAM) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือกได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
*** หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน แต่ยอมให้มีการแก้ไขหรือลบข้อมูลได้โดยกรรมวิธีพิเศษ เรียกว่าอีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory:EPROM)
3. หน่วยความจำสำรอง (Virtual Memory)
มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่
- แผ่นบันทึกหรือแผ่นดิสต์ Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นที่ผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นบันทึกปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว
- ฮาร์ดดิสต์ (Harddisk) การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสต์สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าและมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสต์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสต์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก(Track) ซึ่งจะเป็นข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต(format) ฮาร์ดดิสต์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าเซ็กเตอร์(sector) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่แต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส
- ซีดีรอม (Compact Dist Read Only memory : CDROM) เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลาย ๆ ครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม
4. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เจ้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าเป็นที่รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
- แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป
- เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์
- สแกนเนอร์ (Scanner) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้
5. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขึ้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
- จอภาพแบบซีอาร์ที(Cathode ray tuve:CRT) จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว Monochrome Display Adapter:MDA)ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Colr Graphic Adapter: CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเ รียกว่า จอสีภาพละเอียด (Enhance Graphic Adapter:EGA) ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphics Array:VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ (Extra Video Graphix Array:XVGA)
- จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display:LCD)
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกาแต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่นโน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบแลบาง และได้พัฒนาให้มีการแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน (อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printers) คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ(Impact printer) คือเวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก(Inkjet Printer) หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานที่ต้องการงานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer)เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์(Laser printer) หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสดงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED(Light-Emit-ting Diode) และ LCS(Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm(page per minute) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer) เช่นกัน
3. พล็อตเตอร์ (ploter) เป็นอุปกร์แสดงผลที่มักจะให้ใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แบบแผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์
6. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
โมเด็ม (Modem) ย่อมาจาก (Modulator-DEModulator) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจองโมเด็มมีหน่ายเป็นบิตต่อวินาที (Bit Per Second:BPS) โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ
- แบบ Internal คือเป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
- แบบ External เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal

6.6 ระบบสื่อประสม Multimedia)
ระบบสื่อประสม คือเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงได้หลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะเป็นการรวมเอาวิชาการหลาย ๆ สาขามาประยุกต์เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในงานด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเราเรียกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction:CAI) ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยจะมีการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แสดงผลให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางจอภาพที่สำคัญเทคโนโลยีนี้สามารถใช้สื่อประสมหลาย ๆ ชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียง สื่อการเรียนรูปแบบนี้จึงสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเพราะสามารถทราบระดับความสามารถของตนได้ทันที

Read Users' Comments (0)

บทที่ 5 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


5.1 ระดับสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล เป็นระดับที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี
2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน(Local Area Network:LAN) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดีและการเก็บข้อมูลก็จะเก็บอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Server) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องการมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดการฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video Conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศระดับองค์กร เปรียบเสมือนกันนำเอาระบบารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสารสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลาย ๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดในองค์กร

5.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1.ฮาร์ดแวร์(Hardware) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ
2. ซอฟแวร์ (Software)
คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ ซอฟแวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ซอฟแวร์ระบบ เป็นโปรแกรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ (Oparating System) “ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน
- ซอฟแวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน เช่นด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร เป็นต้น
ปัจจุบันซอฟแวร์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นมา และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป เพราะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ ๆ แล้วซอฟแวร์ที่มีขายตามท้องตลาด ก็อาจจะทำงานได้ไม่ตรงกับลักษณะงานขององค์กรนั้น ๆ ก็อาจจะต้องจัดซื้อจากบริษัทที่ผลิตซอฟแวร์โดยตรง ซึ่งก็จะมีราคาแพง
3. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ถ้าข้อมูลไม่ดีก็จะก่อผลเสียต่อองค์อย่างยิ่ง ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
4. บุคลากร (People) ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ พนักงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบจนถึงผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Process) จะต้องมีการวางแผนให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งบุคลากรและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องสมบูรณ์

Read Users' Comments (0)

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


4.1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
- การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้นและกว้างขวางไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ
- การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถทำได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันหรือใช้เวลาน้อยลงเป็นต้น
- การดำเนินธุรกิจ จะทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน
- ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น และงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟแวร์ (Software)
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร

4.2 พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟแวร์ (software)
- ข้อมูล (Data)
- บุคลากร (People)
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ (Programmers ,System Analyst และ User)
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะมีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการ
ประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
- การรวบรวมข้อมูล
- การประมวลผล
- การดูแลรักษา

4.3 เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ จะมีความสามารถในด้านการจัดการสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการแก้ไข การจัดทำรายงาน งานบัญชี งานลงทะเบียน ซึ่งแล้แต่ระบบที่องค์กรนั้น ๆ ใช้ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศนี้จะทำให้องค์กรได้รับความสะดวกในการทำงานหรืออาจใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจด้วยก็ได้
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เริ่มใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะได้รับความสะดวก และมีประโยชน์หลายประการด้วยกัน เช่น
- สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- การจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมไว้ที่เดียว ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
- องค์กรสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครือข่ายเป็นระบบที่สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
- สามารถทำงานร่วมกันได้ หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้
- พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)
- การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารหรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้ม อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรม ที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น
- มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
- การประชุมทางไกล (Video Teleconference)
4. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือที่เรียกว่า CAI ปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมในวงการศึกษาเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาจัดทำโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้งานเองซึ่งก็เป็นผลดีต่อนักเรียนที่จะได้มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจ

4.4 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้ จะต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับปละผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้ ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ควรปล่อยปละละเลยหรือใช้ไปในทางที่ไม่ถูก
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่จะได้รับด้วย หากประโยชน์ที่จะได้นั้นไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะต้องมีการปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ใข้อมูลเกิดการซ้าซ้อนกันเองภายในหน่วยงานเจัาหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องควรดูแลให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันใช้เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันและมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการใช้ร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้เข้าใช้ระบบในขอบเขตที่สมควรของแต่ละคน

Read Users' Comments (0)