บทที่ 7 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


7.1 ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและเกิดการประมวลผล เราสามารถแบ่งออกตามหน้าที่การทำงานไดเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
เป็นฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นหัวใจของการทำงาน เพราะซีพียูจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลมาทำการประมวลผลแล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปยังหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ หน่วยประมวลผลกลางนี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ
หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic And Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่ ในการคำนวณ
หน่วยควบคุม ( Control Unit )
ทำหน้าที่ ควบคุมกลไกการทำงานของระบบ ทั้งหมด

2. หน่วยความจำ ( Memory )
หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รับส่งสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะมีสภาพเป็น เปิดและปิดโดยใช้รหัสเลขฐานสอง คือ เลข 0 และ 1 ซึ่งแต่ละตัวเรียกว่า บิต ( Binary Digit : Bit ) โดยที่อักษร 1 ตัวจะเกิดจากเลขฐานสอง 8 บิต ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ไบต์ ( Byte )
Note
1 กิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB ) = 210 =1,024 ไบต์ (Byte)
1 เมกกะโลไบต์ ( Megabyte หรือ MB ) = 210 KB =1,048,576 ไบต์ (Byte)

ประเภทของหน่วยความจำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
หน่วยความจำหลัก ( Main memory ) คือ หน่วยความจำที่อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วย
หน่วยความจำประเภทนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้
ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory )
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Non Volatile Memory )
ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งออกได้เป็น
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว( Read - Only Memory ) หรือรอม
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( Random Access Memory )หรือแรม
หน่วยความจำรองหรือหน่วยความจำภายนอกเครื่อง (Secondary storage ) คือ สิ่งที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลหรือโปรแกรมเพื่อเก็บไว้ใช้งานต่อไป การใช้หน่วยความจำรองถือว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อที่หรือความจุในการบันทึกมีจำกัด
3. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device )
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์รับเข้าได้แก่
- จอยสติ๊ก ( Joystick )
- ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer)
- ปากกาแสง ( Light pen)
- เทอร์มินัล ( Terminal ) ฯลฯ
4. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device )
ทำหน้าที่ แสดงผลจากการประมวลผลข้อมูล ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์ส่งออกได้แก่
- เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง
- เครื่องเทปแม่เหล็ก
- เครื่องเจาะบัตร
- หน่วยจานแม่เหล็ก

*** อุปกรณ์บางชนิดเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและอุปกรณ์ส่งออก เราเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ ว่า I/O (Input / Output device )
7.2 ซอฟต์แวร์ ( Software)
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนดพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ก็จะไปควบคุมกาทำงานของฮาร์ดแวร์รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน เช่น การจัดสรรพื้นที่การใช้หน่วยความจำหรือลำดับการพิมพ์ผลของเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกเครื่องจำเป็นจะต้องมี ตัวอย่างระบบปฏิบัติการใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เอ็มเอส - ดอส (MS - DOS)
- วินโดวส์ ( Windows )
- ยูนิกส์ (UNIX) เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร ด้านการจัดการฐานข้อมูล หรือการทำงานภายในโรงเรียน เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์นับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ การเรียนรู้งานก็ทำได้ง่าย ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ซอฟต์แวร์ทั่วไป หรือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Software Packages ) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ไม่ได้มุ่งเน้นในการทำงานใด ๆ เจาะจงมากนัก แต่ผู้ใช้จะต้องนำไปประยุกต์หรือปรับตามการทำงานของตนเอง หรือนำไปพัฒนาเพื่อสร้างชิ้นงาน ราคาจึงไม่สูงมากนัก ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จได้
- Microsoft Word
- Microsoft Excel
- Microsoft PowerPoint
- Microsoft Access
- SPASS ( โปรแกรมวิเคราะห์สถิติเพื่อการวิจัย )
- Adobe Photoshop
- Macromedia Dreamweaver (ใช้ในการสร้างสรรค์เว็บเพจ)
ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ใช้สำหรับงานจำเพาะเจาะจง เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมสต๊อก เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักราคาสูงเพราะต้องพัฒนาโดยบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีความต้องการซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ครบถ้วนตรงตามลักษณะของ องค์กรนั้น ๆ

7.3 ข้อมูล (Data)
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุ หรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ได้แก่
- มีความถูกต้อง
- มีความเที่ยงตรงสามารถเชื่อถือได้
- มีความเป็นปัจจุบัน
- สามารถตรวจสอบได้
- มีความสมบูรณ์ชัดเจน

7.4 บุคลากร ( People )
บุคลากร เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มผู้ใช้ อาจจะเป็นผู้มีความรู้หรือไม่มีความรู้ในการใช้ระบบเลยก็ได้ เราจะเรียกกลุ่มผู้ใช้นี้ว่า End Users ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการออกแบบพัฒนาก็จะต้องยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
กลุ่มนักคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ( Director Computer Manager : EDP ) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ จัดโครงการและวางแผนงานภายในหน่วยงาน
- นักวิเคราะห์ระบบ ( System Analyst : SA ) มีหน้าที่วิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบระบบงาน ตามความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด โดยนักวิเคราะห์ระบบงานนี้จะเป็นผู้ส่งงานต่อให้โปรแกรมเมอร์เพื่อเขียนต่อโปรแกรมต่อไป
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่ นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้
- ผู้ควบคุมเครื่อง (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร
- พนังงานจัดเตรียมข้อมูล ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานต่อไปได้ เช่น การคีย์ข้อมูลลงแผ่นดิสก์

Read Users' Comments (0)

0 Response to "บทที่ 7 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์"

แสดงความคิดเห็น