บทที่ 6 คอมพิวเตอร์


6.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(COMPUTER) ตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ซึ่งอาจจะหมายถึง เครื่องคำนวณที่เป็นเครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องที่เป็นกลไกก็สามารถจัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ส่วนความหมายของคอมพิวเตอร์จากพจนานุกรมฉบับราบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณผลในรูปแบบหนึ่ง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
6.2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer)
จะมีลักษณะเป็นวงจอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนให้ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยจะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ การรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องกันโดยรับจากแหล่งที่เกิดโดยตรงแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ ตัวอย่างของเครื่องชนิดนี้มักพบได้ในงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในรูปของกราฟ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจคลื่นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
หลักการคำนวณจะเป็นแบบลูกคิดหรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขฐานสิบก่อนแล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองแล้วให้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความแม่นยำกว่าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
ข้อจำกัดของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ คือต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “สื่อข้อมูล” ในการบันทึกข้อมูลแต่อนาล็อกคอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
เป็นการนำอนาล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดียิ่งขึ้น
6.3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
การแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์นี้จะแบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น
1. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951-1958)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เพราะมีขนาดใหญ่ จึงมีปัญหาเรื่องความร้อน และไส้หลอดขาดบ่อย
- ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และหลอดสุญญากาศ
- การทำงานใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language)
- คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจคือ UNIVAC I
- ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกได้แก่ มาร์ค วัน (MARK I) , อีนิแอค(ENIAC), ยูนิแวค(UNIVAC)
ข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ ก่อนใช้งานต้องอุ่นให้หลอดสุญญากาศเสียก่อน จึงจะใช้งานได้ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที และเมื่ออุ่นได้ที่แล้วก็มักจะร้อนเกิดไปทันที และเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่และใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องเก็บไว้ในห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ที่สำคัญหลอดสุญญากาศนั้นมีอายุการใช้งานที่ต่ำ คือเฉลี่ยแล้วจะใช้ได้เพียง 12 ชั่วโมง เท่านั้น
2. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (ค.ศ.1959-1964)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์(Transister) แทนหลอดสุญญากาศ
- มีความเร็วที่สูงกว่า มีความถูกต้องแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า
- เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยและราคาถูกลง
- ใช้วงแหวนแม่เหล็กที่ทำขึ้นจากสาร ferromagnetic เป็นหน่วยเก็บความจำ
- ในช่วงต้น ค.ศ. 1960 ได้เริ่มมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก และดิสก์ มาใช้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล
3. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (ค.ศ.1965-1971)
- เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคอมพิวเตอร์เพราะมีการคิดค้น วงจรรวม (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว
- เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้กำลังไฟน้อย
- โครงสร้างของคอมพิวเตอร์มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น
- ภาษาที่ใช้ได้แก่ภาษาโคบอล(COBOL) และภาษาพีแอลวัน (PL/I)
4. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (ค.ศ.1972-1980)
- เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration :VLSI)
- ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงหรือไมโครคอมพิวเตอร์เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้
- ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธภาพมากขึ้น
- ใช้สื่อข้อมูลพวกเทปแม่เหล็ก หรือจานแม่เหล็ก
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาใหม่ ๆ เช่นภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาปาสคาล(PASCAL)และภาษาซี (C )
- ซอฟแวร์มีการพัฒนามาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากขึ้น
5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (ค.ศ 1980-ปัจจุบัน)
- คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และแก้ปัญหา โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องกาใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้
- คอมพิวเตอร์ยุคนี้เรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) “
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านกราฟิกอย่างแพร่หลายมากขึ้น
- ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลงและมีความเร็วสูง เช่น โน๊ตบุ๊ค (NoteBook)
- การปฏิบัติงานต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์แทนแรงงานมนุษย์
- ซอฟแวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์
6.4 ชนิดของคอมพิวเตอร์
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาสั้น ๆ
- เครื่องมีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ ที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massivily Parallel Processing :MPP)
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframecomputer)
- มีขนาดรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์
- สาเหตุที่เรียกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในตู้จะมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
- ใช้งานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
- ราคาสูงที่สุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป
- มีการประมวลผลที่รวดเร็วและเก็บข้อมูลได้มหาศาล
- ต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีและอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
- ข้อเด่นของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์คือ การทำงานโดยมีระบบศูนย์กลางและกระจายงานไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ระบบเอทีเอ็ม
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้หลายคในเวลาเดียวกัน คือสามารถเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง
- ใช้ในงานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดกลาง
- ขนาดเล็กกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการทำงานและราคาก็ต่ำกว่าด้วย
4. สถานีวิศวกรรม
- ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิกและนักออกแบบ
- จุดเด่นของสถานีงานวิศวกรรมคือเรื่องกราฟิก
- ราคาของสถานีวิศวกรรมจะแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก
- การใช้งานก็จะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้โดยเฉพาะ
- หากนำสถานีวิศวกรรมมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จำทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
5. ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
- เครื่องมีขนาดเล็กและมีราคาถูก อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer:PC)หรือ พีซี
- มีทั้งแบบตั้งโต๊ะ (Desktop),แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop),ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์(Palmtop) และโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ (Note Book)
- สามารถใช้งานได้ง่าย
- สามารถใช้งานในลักษณะเครือขาย และทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลได้ด้วย
- มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์
6.5 หน่วยประมวลกลาง
1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบไปด้วย
- หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithematic and Logic Unit:ALU)
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ
- หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานกันกับหน่วยความจำ และหน่วยคำนวณและตรรกะ
ซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันคือ ไมโครชิปหรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทของหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด
- หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน(Nonvolatile Memory)หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
2. ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory :ROM)หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามารถอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
- หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memry :RAM) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือกได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
*** หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน แต่ยอมให้มีการแก้ไขหรือลบข้อมูลได้โดยกรรมวิธีพิเศษ เรียกว่าอีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory:EPROM)
3. หน่วยความจำสำรอง (Virtual Memory)
มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่
- แผ่นบันทึกหรือแผ่นดิสต์ Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นที่ผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นบันทึกปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว
- ฮาร์ดดิสต์ (Harddisk) การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสต์สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าและมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสต์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสต์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก(Track) ซึ่งจะเป็นข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต(format) ฮาร์ดดิสต์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าเซ็กเตอร์(sector) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่แต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส
- ซีดีรอม (Compact Dist Read Only memory : CDROM) เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลาย ๆ ครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม
4. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เจ้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าเป็นที่รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
- แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป
- เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์
- สแกนเนอร์ (Scanner) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้
5. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขึ้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
- จอภาพแบบซีอาร์ที(Cathode ray tuve:CRT) จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว Monochrome Display Adapter:MDA)ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Colr Graphic Adapter: CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเ รียกว่า จอสีภาพละเอียด (Enhance Graphic Adapter:EGA) ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphics Array:VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ (Extra Video Graphix Array:XVGA)
- จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display:LCD)
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกาแต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่นโน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบแลบาง และได้พัฒนาให้มีการแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน (อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printers) คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ(Impact printer) คือเวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก(Inkjet Printer) หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานที่ต้องการงานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer)เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์(Laser printer) หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสดงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED(Light-Emit-ting Diode) และ LCS(Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm(page per minute) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer) เช่นกัน
3. พล็อตเตอร์ (ploter) เป็นอุปกร์แสดงผลที่มักจะให้ใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แบบแผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์
6. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
โมเด็ม (Modem) ย่อมาจาก (Modulator-DEModulator) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจองโมเด็มมีหน่ายเป็นบิตต่อวินาที (Bit Per Second:BPS) โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ
- แบบ Internal คือเป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
- แบบ External เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal

6.6 ระบบสื่อประสม Multimedia)
ระบบสื่อประสม คือเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงได้หลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะเป็นการรวมเอาวิชาการหลาย ๆ สาขามาประยุกต์เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในงานด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเราเรียกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction:CAI) ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยจะมีการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แสดงผลให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางจอภาพที่สำคัญเทคโนโลยีนี้สามารถใช้สื่อประสมหลาย ๆ ชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียง สื่อการเรียนรูปแบบนี้จึงสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเพราะสามารถทราบระดับความสามารถของตนได้ทันที

Read Users' Comments (0)

0 Response to "บทที่ 6 คอมพิวเตอร์"

แสดงความคิดเห็น