9.1 ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งทางราชการ และเอกชน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
9.1.1 ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Project Agency ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
9.1.2 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว และใช้โมเด็มความเร็วเพียง 2,400 บิตต่อวินาทีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก โดยมีความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที และต่อมาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ โดยเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ไทยสาร ซึ่งให้บริการทางการศึกษาและวิจัย
9.1.3 ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต คือ สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้ ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. เวิลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW )
2. โกเฟอร์ (Gopher)
3. เทลเน็ต (Telnet)
4. เวย์ส(WAIS } Wide Area Information Sevice )
5. อาร์ชี ( Archie)
World Wide Web : WWW
เป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยให้ผุ้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปข้อความหลายมิติ WWW มีคุณสมบัติดังนี้
- User – Friendily ที่ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ บนหน้าจอ และเข้าถึงส่วน ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งที่ยุ่งยาก
- เอกสารในรูปมัลติมิเดีย โดยแต่ละหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์กราฟิก ภาพ วีดีโอและเสียง
- มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้และ Server
Gopher
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่มี WWWโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา(Minnesota) จุดประสงค์ก็เพื่อค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต การค้นหาสารสนเทศทำได้โดยการพิมพ์คำหรือวลีลงไประบบจะค้นหาถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาแสดงบนหน้าจอในรูปของข้อความ ปัจจุบัน Browser ก็ช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ Gopher
Telnet
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็น Client ของTelnet
(Telnet จะใช้กับเครื่องเมนเฟรมซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย แต่เครื่องเมนเฟรมนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง )
WAIS (Wide Area Information Service )
เป็นเครื่องมือในการค้นหาฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยระบบนี้จะมีวิธีดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้เห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว
Archie
ระบบนี้เป็นการค้นหาข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนของการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล ผู้ใช้จะต้องเข้าไปค้นหาก่อนว่าข้อมูลที่ตนเองต้องการนั้นเก็บอยู่สถานที่ใดจากนั้นจึงจะเข้าไปค้นหาที่สถานที่ที่ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่อไป
9.1.4 เว็บบราวเซอร์ (Web Browser )
Web Browser เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น WWW ซึ่ง Web Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ โฮสต์ เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ
Web browser เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ น่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน
9.1.5 ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E – Mail (Electronics mail) ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ
- แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง
- แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้ โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
- การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน
- ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ
- แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์ ดนตรี และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้
- เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ก็คือ E – Commerce
9.1.6 ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง
- จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
- อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้ เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
- หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้ เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล เป็นต้น
9.1.7 ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ โปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP
TCP/IP คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ ไอพีแอดเดรส (IP Address ) เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่ง ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรส เช่น 202.44.202.3
ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท องค์กร เช่น nasa.gov เป็นต้น
ความหมายของโดเมนเนม ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น 6 ประเภท
1. .com - กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
2. ede - กลุ่มกี่ศึกษา (Education)
1. .mit - กลุ่มองค์การทหาร (Military)
2. .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย (Network Services)
3. .org - กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
4. .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
(International)
ตัวอย่าง เช่น
www.ipst.ac.th เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac และ .th หมายถึง Thailand นั่นเอง
ความหมายของโดเมนย่อยในไทย
” .ac สถาบันการศึกษา (Academic)
” .co องค์กรธุรกิจ(Commercial)
” .or องค์กรอื่น ๆ(Organization)
” .net ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก (Networking)
” .go หน่วยงานของรัฐบาล(Government)
9.1.8 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1. 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Pentium 233 ขึ้นไป
2. 2. หน่วยความจำ (RAM) 64 MB. ขึ้นไป
3. 3. ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.2 GB.ขึ้นไป
4. 4. จอภาพแบบ SVGA
5. 5. โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 33.6 Kbps-56 Kbps
6. 6. โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 1 คู่สาย
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem ) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต “หลุด” ได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก จะใช้สาย Lease Line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต
- ISP (Internet Service Provider ) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว
- การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้
1. ซื้อแบบ Package มาทดลองใช้ ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน 1 เดือน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ
1. ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่ WWW แต่ไม่ให้บริการ E – Mail เป็นต้น
2. คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่ มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่
9.2 สำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้
- พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น
- มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
- การประชุมทางไกล (Video Teleconference)
9.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง เพราะ EDI เป็นการส่งเอกสารธุรกิจหรือข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับโดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ EDI ต่างจาก E – Mail ตรงที่ว่า การส่ง E –Mail นั้นจะต้องดำเนินการโดยคนทั้งในการส่งและการรับ แต่ EDI นั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการเองโดยอัตโนมัติ
ประโยชน์ของ EDI ก็คือ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร ประหยัด แรงงานคนในการบันทึกข้อมูล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน
9.4 ทางด่วนข้อมูล
ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway ) เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย ลักษณะของทางด่วนข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)
9.5 ระบบรักษาความปลอดภัย
- สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
- สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า – ออกได้ เป็นต้น
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ
- ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้ ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่ 2 แห่ง ขึ้นไป
- มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ โดยการกำหนดรหัสผ่านให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ