บทที่ 9 เทคโนโลยีสมัยใหม่


9.1 ความหมายของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งทางราชการ และเอกชน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
9.1.1 ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Project Agency ) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จึงมีชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน คือ TCP/IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
9.1.2 อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยนั้นได้เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลักษณะการเชื่อมต่อนั้นเป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อกันเป็นครั้งคราว และใช้โมเด็มความเร็วเพียง 2,400 บิตต่อวินาทีเท่านั้น ต่อมาปี พ.ศ. 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยสมบูรณ์เป็นครั้งแรก โดยมีความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที และต่อมาศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ก็เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาภายในประเทศเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตภายในประเทศ โดยเครือข่ายนี้มีชื่อว่า ไทยสาร ซึ่งให้บริการทางการศึกษาและวิจัย
9.1.3 ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต
ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต คือ สิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่งานของเราได้ ทรัพยากรบนอินเตอร์เน็ต ได้แก่
1. เวิลไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW )
2. โกเฟอร์ (Gopher)
3. เทลเน็ต (Telnet)
4. เวย์ส(WAIS } Wide Area Information Sevice )
5. อาร์ชี ( Archie)
World Wide Web : WWW
เป็นระบบอินเตอร์เน็ตโดยให้ผุ้ใช้ค้นหาข้อมูลเอกสารจากแฟ้มข้อความในรูปข้อความหลายมิติ WWW มีคุณสมบัติดังนี้
- User – Friendily ที่ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการเลือกตัวเลือกต่าง ๆ บนหน้าจอ และเข้าถึงส่วน ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ต้องจดจำคำสั่งที่ยุ่งยาก
- เอกสารในรูปมัลติมิเดีย โดยแต่ละหน้าเว็บเพจจะประกอบด้วยสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์กราฟิก ภาพ วีดีโอและเสียง
- มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้และ Server
Gopher
เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่มี WWWโดยมหาวิทยาลัยมินเนโซตา(Minnesota) จุดประสงค์ก็เพื่อค้นหาสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต การค้นหาสารสนเทศทำได้โดยการพิมพ์คำหรือวลีลงไประบบจะค้นหาถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาแสดงบนหน้าจอในรูปของข้อความ ปัจจุบัน Browser ก็ช่วยให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ Gopher
Telnet
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันคล้ายกับการโทรศัพท์เข้าไปที่เครื่อง โดยซอฟต์แวร์ที่ใช้ต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็น Client ของTelnet
(Telnet จะใช้กับเครื่องเมนเฟรมซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย แต่เครื่องเมนเฟรมนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้โดยตรง )


WAIS (Wide Area Information Service )
เป็นเครื่องมือในการค้นหาฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยระบบนี้จะมีวิธีดำเนินการที่ทำให้ผู้ใช้เห็นว่ามีฐานข้อมูลอยู่เพียงแห่งเดียว
Archie
ระบบนี้เป็นการค้นหาข้อมูลโดยใช้ขั้นตอนของการโยกย้ายแฟ้มข้อมูล ผู้ใช้จะต้องเข้าไปค้นหาก่อนว่าข้อมูลที่ตนเองต้องการนั้นเก็บอยู่สถานที่ใดจากนั้นจึงจะเข้าไปค้นหาที่สถานที่ที่ต้องการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่อไป

9.1.4 เว็บบราวเซอร์ (Web Browser )
Web Browser เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเลือกดูเอกสารในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็น WWW ซึ่ง Web Browser นั้นจะต้องเชื่อมต่อไปยัง เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ โฮสต์ เพื่อเรียกข้อมูลที่ต้องการ
Web browser เป็นเครื่องมือทีใช้ในการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตที่สำคัญ ข้อดีของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงาม มีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมิเดียต่าง ๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความ น่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน
9.1.5 ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า E – Mail (Electronics mail) ซึ่งมีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการติดต่อด้วยวิธีอื่น ๆ
- แหล่งค้นคว้าข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ หรือเปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดสาธารณะนั่นเอง
- แหล่งรวมโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้ โดยมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
- การถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือจากสถานที่ที่ระยะทางอยู่ห่างไกลกัน
- ใช้สนทนาพูดคุยโต้ตอบกันโดยผ่านทางแป้นพิมพ์และจอภาพ
- แหล่งรวมความบันเทิงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป้นภาพยนต์ ดนตรี และเกมที่สามารถเล่นโต้ตอบกันผ่านทางเครือข่ายได้
- เป็นเครื่องมือในการติดต่อซื้อขายทางธุรกิจ ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ก็คือ E – Commerce

9.1.6 ข้อจำกัดและผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
ข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต ได้แก่
- ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะจะต้องเสียค่าไฟฟ้าและค่าโทรศัพท์ในการต่ออินเตอร์เน็ตในแต่ละครั้ง
- จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์จึงจะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้จึงค่อนข้างเป็นผู้ที่มีกำลังทรัพย์ในการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์
ผลกระทบของอินเตอร์เน็ต
- อาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาได้ เพราะการจ้องมองที่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ
- หากใช้ไปในทางที่ไม่ถูกต้องก็เกิดผลเสียแก่ตัวผู้ใช้เอง ได้ เช่น เว็บไซด์ที่เป็นไปในทางลามกอนาจารและการลักลอบขโมยข้อมูล เป็นต้น

9.1.7 ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ต
มาตรฐานที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ก็คือ โปรโตคอล ซึ่งโปรโตคอลที่เรานิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ก็คือ โปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP
TCP/IP คือ ภาษากลางบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องสามารถเข้าใจกันได้ สิ่งที่ช่วยให้เรารู้ที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็คือ ไอพีแอดเดรส (IP Address ) เป็นหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลกโดยมีจุด (.) เป็นสัญลักษณ์แบ่ง ตัวเลขเป็นชุดจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255
ลักษณะการทำงานของอินเตอร์เน็ตก็คือ เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่ออยู่บนอินเตอร์เน็ต จึงจะสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้ถูกต้อง ตัวอย่าง ไอพีแอดเดรส เช่น 202.44.202.3
ถึงแม้อินเตอร์เน็ตจะใช้ไอพีแอดเดรสในการทำงาน แต่เป็นตัวเลขที่ยาวทำให้ผู้ใช้จำยาก จึงมีการใช้โดเมนเนมมาใช้ซึ่งเป็นตัวอักษรที่จำง่ายมาใช้แทนไอพีแอดเดรส โดเมนเนมจะไม่ซ้ำกัน และมักถูกตั้งให้สอดคล้องกับชื่อบริษัท องค์กร เช่น nasa.gov เป็นต้น
ความหมายของโดเมนเนม ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นได้จำแนกเป็น 6 ประเภท
1. .com - กลุ่มองค์การค้า (Commercial)
2. ede - กลุ่มกี่ศึกษา (Education)
1. .mit - กลุ่มองค์การทหาร (Military)
2. .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย (Network Services)
3. .org - กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)
4. .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
(International)
ตัวอย่าง เช่น
www.ipst.ac.th เป็นเว็บไซต์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาสาสตร์และเทคดนโลยีซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษา จึงใช้โดเมนย่อยเป็น .ac และ .th หมายถึง Thailand นั่นเอง
ความหมายของโดเมนย่อยในไทย
” .ac สถาบันการศึกษา (Academic)
” .co องค์กรธุรกิจ(Commercial)
” .or องค์กรอื่น ๆ(Organization)
” .net ผู้วางระบบเน็ตเวิร์ก (Networking)
” .go หน่วยงานของรัฐบาล(Government)

9.1.8 รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีดังนี้
1. 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ CPU Pentium 233 ขึ้นไป
2. 2. หน่วยความจำ (RAM) 64 MB. ขึ้นไป
3. 3. ฮาร์ดดิสก์ความจุ 1.2 GB.ขึ้นไป
4. 4. จอภาพแบบ SVGA
5. 5. โมเด็มความเร็วตั้งแต่ 33.6 Kbps-56 Kbps
6. 6. โทรศัพท์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อ 1 คู่สาย

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
จะใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของเรา เข้ากับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem ) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไปและไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อเสียคืออาจเกิดสัญญาณรบกวนภายในสาย ทำให้การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต “หลุด” ได้
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวนมาก จะใช้สาย Lease Line ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน การโอนย้ายข้อมูลจะมีความเร็วสูงกว่าการใช้โทรศัพท์ การเชื่อมต่อแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา เพื่อให้บริการข้อมูลเท่านั้น เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่อแบบส่วนบุคคลมาก
ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ต
- ISP (Internet Service Provider ) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต สิ่งสำคัญในการใช้อินเตอร์เน็ต ก็คือ การจัดการอินเตอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้จะต้องพิจารณาเลือกรายการที่ดีที่สุด สำหรับลักษณะของการใช้อินเตอร์เน็ตนั้นแบ่งได้เป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่สถานศึกษาหรือองค์กร หากคุณอยู่ในสถานศึกษาก็อาจจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้ฟรีหรือเสียค่าบริการเป็นเทอมซึ่งจะสะดวกและประหยัดได้มาก ส่วนในองค์กรส่วนใหญ่นั้นจะมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อยู่แล้ว
- การใช้อินเตอร์เน็ตที่บ้าน จำเป็นจะต้องพิจารณาผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเป็นสำคัญ โดยคุณสามารถทำได้ดังนี้
1. ซื้อแบบ Package มาทดลองใช้ ซึ่งแบบนี้จะจำกัดชั่วโมงและจำกัดระยะเวลาในการใช้ เช่น 3 เดือน 6 เดือน เป็นต้น
2. สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีการให้บริการในลักษณะนี้มากขึ้น คือ ผู้ใช้เสียค่าบริการเป็นรายเดือน และสามารถเล่นได้ไม่จำกัดชั่วโมงภายใน 1 เดือน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ
1. ตรวจสอบดูว่ามีบริการใดให้บ้าง เพราะผู้ให้บริการบางรายให้บริการแต่ WWW แต่ไม่ให้บริการ E – Mail เป็นต้น
2. คู่สายโทรศัพท์มีเพียงพอกับจำนวนผุ้ใช้หรือไม่ มีบริการให้โทรสอบถามเวลามีข้อสงสัยหรือไม่
9.2 สำนักงานอัตโนมัติ
สำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้
- พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสาร หรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น
- มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
- การประชุมทางไกล (Video Teleconference)

9.3 การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI ) เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง เพราะ EDI เป็นการส่งเอกสารธุรกิจหรือข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้รับโดยผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ EDI ต่างจาก E – Mail ตรงที่ว่า การส่ง E –Mail นั้นจะต้องดำเนินการโดยคนทั้งในการส่งและการรับ แต่ EDI นั้นคอมพิวเตอร์จะเป็นผู้จัดการเองโดยอัตโนมัติ
ประโยชน์ของ EDI ก็คือ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร ประหยัด แรงงานคนในการบันทึกข้อมูล และประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำงาน

9.4 ทางด่วนข้อมูล
ทางด่วนข้อมูล (Information Superhighway ) เป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยการวางเส้นใยนำแสงไปตามแนวทางรถไฟ เพื่อใช้ในการสื่อสารทางโทรศัพท์ แต่ก็เป็นการยากที่จะให้ได้รับบริการครบทุกแห่งในประเทศไทย ลักษณะของทางด่วนข้อมูล คือ การสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูง (ข้อมูลในที่นี้หมายรวมถึงภาพและเสียงด้วย)
9.5 ระบบรักษาความปลอดภัย
- สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ควรมีกำลังไฟสำรองที่สามารถทำงานแทนกำลังไฟฟ้าหลักทันทีเมื่อกระแสไฟฟ้าขัดข้อง
- สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์นั้นก็จะต้องมีการรักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด ควรจำกัดสิทะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่จะสามารถเข้า – ออกได้ เป็นต้น
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะปัจจุบันมีไวรัสที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำลายระบบข้อมูลโดยตรง ดังนั้นจะต้องมีการตรวจสอบโปรแกรมและเตรียมการป้องกันอยู่เสมอ
- ข้อมูลจะต้องมีการสำเนาไว้ ไม่ว่าจะบันทึกลงในหน่วยความจำสำรอง หรือ ใช้ระบบสำรองข้อมูล และถ้าข้อมูลมีความสำคัญมากก็จะต้องมีการจัดเก็บไว้ในสถานที่ 2 แห่ง ขึ้นไป
- มีการจำกัดสิทธิผู้ใช้ระบบ โดยการกำหนดรหัสผ่าน
ให้พนักงานแต่ละคนในแต่ละระดับ

Read Users' Comments (0)

บทที่ 8 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์




  1. 8.1 ความหมายของการสื่อสาร
    การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications ) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านทางช่องสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
    วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณหรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรคที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
    ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
    1. ตัวส่งข้อมูล
    2. ช่องทางการส่งสัญญาณ
    3. ตัวรับข้อมูล

    8.2 การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
    มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open System Interconnection Model ) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้
    จุดมุ่งหมายของการกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้
    1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
    2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
    3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
    4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบสำเร็จมาแล้ว
    5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่าย ๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
    6. มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
    7. มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น

รูปมาตรฐาน OSI แบ่งแยกตามส่วนการทำงาน

7 Application

6 Presentation

5 Session

4 Transport

3 Network

2 Data Link

1 Physical




1. ชั้น Physical เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร มีหน้าที่รับ - ส่งข้อมูลจากช่องทางการสื่อสารหรือสื่อระหว่างคอมพิวเตอร์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ จะถูกกำหนดอยู่ในชั้นนี้
2. ชั้น Data Link มีหน้าที่เหมือนผู้ตรวจ คอยควบคุมความผิดพลาดในข้อมูล โดยจะมีการสำเนาข้อมูลไว้จนกว่าจะส่งถึงปลายทางหรือผู้รับ ชั้น Data Link นี้จะป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีดความสามารถของเครื่องรับ
3. ชั้น Network มีหน้าที่กำหนดเส้นทางของข้อมูลที่ส่ง - รับในการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางปลายทาง โดยจะเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารที่น้อยที่สุด และระยะทางที่สั้นที่สุด
4. ชั้น Transport มีหน้าที่ตรวจสอบและป้องกันข้อมูลให้ข้อมูลที่ส่งมานั้น ไปถึงปลายทางจริง ๆ
5. ชั้น Session มีหน้าที่คอยรวบรวมข้อความ และแปลงรหัสหรือแปลงรูปแบบของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ
6. ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของมาตรฐาน OSI มีหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้โดยตรง เช่น เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ โดยแปลงข้อมูลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจไปเป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ

8.3 การส่งสัญญาณข้อมูล
การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับส่งหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้
8.3.1 รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียวหรือ ซิมเพล็กซ์ ( One – Way หรือ Simplex ) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือ ข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์

2. แบบกึ่งทิศทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ ( Haft – Doplex ) เป็นการสงข้อมูลแบบสลับการส่งและการรับไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือ จะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กเต็ม (Full – Duplex ) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่น การพูดโทรศัพท์

8.4 ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
8.4.1 แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair ) มีราคาถูกและนิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair ) มีลักษณะเป็นสองเส้น มีแนวแล้วบิดเป็นเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อลดเสียงรบกวน มีฉนวนหุ้มรอบนอก มีราคาถูก ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา และการรบกวนทางไฟฟ้าต่ำ สายโทรศัพท์จัดเป็นสายคู่บิดเกลียวแบบหุ้มฉนวน
สาย Coaxial สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติกกั้นสายโคแอคเซียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งยากกว่า
ใยแก้วยำแสง ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบาง คล้าย ๆ เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง
ข้อดีของใบแก้วนำแสง คือ
1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มาก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา
8.4.2 แบบไม่มีสาย เช่น ไมโครเวฟ และดาวเทียม
ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ – ส่ง คือ จานสัญญาณไมโครเวฟ ซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูงและมักจะให้อยู่ห่างกันประมาณ 25 – 30 ไมล์ ข้อดีของการส่งสัญญาณด้วยระบบไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้าง และการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ถ้าระหว่างจานสัญญาณไมโครเวฟมีสิ่งกีดขวางก็จะทำให้การส่งสัญญาณไม่ดีหรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครวฟนี้จะใช้กรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่า
ดาวเทียม (Satellite) มีลักษณะการส่งสัญญาณคล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ – ส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ ดาวเทียมจะทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดีของการสื่อสารผ่านดาวเทียม คือ ส่งข้อมูลได้มากและมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือ ถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

8.5 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ คือ
- เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน
- เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
ประเภทของระบบเครือข่าย
โดยแบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์ แบ่งได้เป็น
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN )
เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่น ภายในอาคารเดียวกัน หรือ ภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด ตัวอย่าง เช่น เคเบิลทีวี
3. เครือข่ายระดับประเทศ ( Wide Area Network : WAN )
เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด ตัวอย่าง เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม
4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network )
เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม

8.6 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
8.6.1 แบบดาว เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer ) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุด ต่าง ๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูก ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้การสื่อสารจึงทำให้การตอบสนองที่รวดเร็ว การส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไปยังสถานีอื่น ๆ การควบคุมการรับ – ส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที
ข้อดี
1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
2. เนื่องจากการรับ - ส่ง ข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์ทั้งหมด จึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ทีแยกออกจากกัน
4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย
ข้อเสีย
1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง

8.6.2 แบบวงแหวน (Ring Network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างจุดโดยต่อเป็นวงแหวน ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางก็จะรวมอยู่ด้วย การทำงานแต่ละเครื่องจะทำงานของตนเองและการเชื่อมโยงจะทำให้มีการแบ่งงานกันทำและการใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน การส่งข้อมูลจะส่งผ่านไปตามสายวงแหวนดดยกำหนดแอดเดรสของปลายทางเอาไว้เพื่อให้ทราบว่าต้องการส่งไปยังเครื่องใด ซึ่งข้อมูลที่ส่งผ่าน ๆ ทุกจุดในวงแหวน ซึ่งหากมีปัญหาขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถติดต่อกันได้ เครือข่ายแบบนี้มักใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์
ข้อดี
1. สามารถควบคุมการส่งข้อมูลได้ง่าย เพราะระบบวงแหวนเป็นวงปิด
เหมาะกับการใช้สื่อเป็นเส้นใยแก้วนำแสง
2. สามารถส่งไปยังผู้รับได้หลาย ๆ สถานีพร้อมกัน
3. ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
4. ไม่เปลืองสายสื่อสาร
ข้อเสีย
1. หากเกิดขัดข้องที่สถานีใดก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดจะต้องตรวจสอบไปทีละสถานี
3. เวลาจะส่งข้อมูล จะต้องให้สายข้อมูลนั้นว่างเสียก่อนจึงจะส่งออกไปได้
4. ติดตั้งยากกว่าแบบบัสและใช้สายสื่อสารมากกว่า
8.6.3 แบบบัส (Bus Network ) มีลักษณะคล้ายวงแหวน แต่ไม่ต่อเป็นวงกลม มีสายสื่อสาร 1 สาย โดยแต่ละสถานีจะถูกต่อเข้ากับสายโดยไม่มีตัวใดเป็นตัวควบคุม การส่งข้อมูลระหว่าง 2 สถานี จะทำผ่านทางสายหรือบัสนี้ การต่อแบบนี้ไม่มีตัวศูนย์กลางควบคุม ดังนั้นถ้าหลาย ๆ สถานีต้องการส่งข้อมูล ในเวลาเดียวกันก็จะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลได้ วิธีแก้ก็คือ จะต้องรอจนกว่าสายจะว่าง แล้วจึงส่งใหม่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ข้อดี
1. โครงสร้างง่ายต่อการติดตั้ง เพราะมีสายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
2. ประหยัดเพราะสายส่งไม่ยาวมากนัก
3. การเพิ่มสถานีทำได้ง่ายกว่าแบบอื่น ๆ
4. หากสถานีใดหรือจุดใดติดขัดก็จะทำให้ใช้งานไม่ได้เฉพาะที่จุดนั้น ๆ แต่ระบบก็ยังสามารถใช้งานได้ปกติ
ข้อเสีย
1. หากระบบมีข้อผิดพลาดก็จะหาได้ยาก
2. หาสายส่งข้อมูลเสียหายก็จะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
8.6.4 แบบผสม (Hybrid Network) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบเข้าด้วยกัน คือ จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ หลาย ๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน

8.7 อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
8.7.1 โมเด็ม (Modem ) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับ และแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอนาล็อกเมื่อต้องการข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร
กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation ) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator)
กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณอนาล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน
(Demodulation ) โมเด็มทำหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)
โมเด็มที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภท ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ 6 โมเด็มในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
8.7.2 เกตเวย์ ( Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณือิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน้าที่หลัก คือ ช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่าย หรือมากกว่าซึ่งลักษณะไม่เหมือนกัน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
8.7.3 เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
8.7.4 บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกันของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย
8.7.5 รีเพอร์เตอร์ (Pepeater) รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกล ๆ สำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณ ข้อมูลที่เริ่มจะเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิทัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณ เพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกล ๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

Read Users' Comments (0)

บทที่ 7 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


7.1 ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ประสานกันและเกิดการประมวลผล เราสามารถแบ่งออกตามหน้าที่การทำงานไดเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1. หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
เป็นฮาร์ดแวร์ที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นหัวใจของการทำงาน เพราะซีพียูจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยรับคำสั่งหรือข้อมูลมาทำการประมวลผลแล้วส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปยังหน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ หน่วยประมวลผลกลางนี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ส่วน คือ
หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic And Logic Unit : ALU)
ทำหน้าที่ ในการคำนวณ
หน่วยควบคุม ( Control Unit )
ทำหน้าที่ ควบคุมกลไกการทำงานของระบบ ทั้งหมด

2. หน่วยความจำ ( Memory )
หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ รับส่งสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะมีสภาพเป็น เปิดและปิดโดยใช้รหัสเลขฐานสอง คือ เลข 0 และ 1 ซึ่งแต่ละตัวเรียกว่า บิต ( Binary Digit : Bit ) โดยที่อักษร 1 ตัวจะเกิดจากเลขฐานสอง 8 บิต ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1 ไบต์ ( Byte )
Note
1 กิโลไบต์ (Kilobyte หรือ KB ) = 210 =1,024 ไบต์ (Byte)
1 เมกกะโลไบต์ ( Megabyte หรือ MB ) = 210 KB =1,048,576 ไบต์ (Byte)

ประเภทของหน่วยความจำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
หน่วยความจำหลัก ( Main memory ) คือ หน่วยความจำที่อยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ รวมถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลด้วย
หน่วยความจำประเภทนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้
ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory )
หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Non Volatile Memory )
ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งออกได้เป็น
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว( Read - Only Memory ) หรือรอม
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม ( Random Access Memory )หรือแรม
หน่วยความจำรองหรือหน่วยความจำภายนอกเครื่อง (Secondary storage ) คือ สิ่งที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลหรือโปรแกรมเพื่อเก็บไว้ใช้งานต่อไป การใช้หน่วยความจำรองถือว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อจำกัด เช่น เนื้อที่หรือความจุในการบันทึกมีจำกัด
3. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device )
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์รับเข้าได้แก่
- จอยสติ๊ก ( Joystick )
- ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer)
- ปากกาแสง ( Light pen)
- เทอร์มินัล ( Terminal ) ฯลฯ
4. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device )
ทำหน้าที่ แสดงผลจากการประมวลผลข้อมูล ตัวอย่าง เพิ่มเติมของอุปกรณ์ส่งออกได้แก่
- เครื่องแสดงผลลัพธ์ด้วยเสียง
- เครื่องเทปแม่เหล็ก
- เครื่องเจาะบัตร
- หน่วยจานแม่เหล็ก

*** อุปกรณ์บางชนิดเป็นได้ทั้งอุปกรณ์รับเข้าและอุปกรณ์ส่งออก เราเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ ว่า I/O (Input / Output device )
7.2 ซอฟต์แวร์ ( Software)
ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอนดพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมนี้เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ( Operating System ) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้ก็จะไปควบคุมกาทำงานของฮาร์ดแวร์รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน เช่น การจัดสรรพื้นที่การใช้หน่วยความจำหรือลำดับการพิมพ์ผลของเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกเครื่องจำเป็นจะต้องมี ตัวอย่างระบบปฏิบัติการใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เอ็มเอส - ดอส (MS - DOS)
- วินโดวส์ ( Windows )
- ยูนิกส์ (UNIX) เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร ด้านการจัดการฐานข้อมูล หรือการทำงานภายในโรงเรียน เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์นับว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ การเรียนรู้งานก็ทำได้ง่าย ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ซอฟต์แวร์ทั่วไป หรือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Software Packages ) ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ไม่ได้มุ่งเน้นในการทำงานใด ๆ เจาะจงมากนัก แต่ผู้ใช้จะต้องนำไปประยุกต์หรือปรับตามการทำงานของตนเอง หรือนำไปพัฒนาเพื่อสร้างชิ้นงาน ราคาจึงไม่สูงมากนัก ตัวอย่างซอฟต์แวร์สำเร็จได้
- Microsoft Word
- Microsoft Excel
- Microsoft PowerPoint
- Microsoft Access
- SPASS ( โปรแกรมวิเคราะห์สถิติเพื่อการวิจัย )
- Adobe Photoshop
- Macromedia Dreamweaver (ใช้ในการสร้างสรรค์เว็บเพจ)
ซอฟต์แวร์เฉพาะทาง ใช้สำหรับงานจำเพาะเจาะจง เช่น โปรแกรมบัญชี โปรแกรมสต๊อก เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้มักราคาสูงเพราะต้องพัฒนาโดยบริษัทที่ผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นองค์กรขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีความต้องการซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้ครบถ้วนตรงตามลักษณะของ องค์กรนั้น ๆ

7.3 ข้อมูล (Data)
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุ หรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี ได้แก่
- มีความถูกต้อง
- มีความเที่ยงตรงสามารถเชื่อถือได้
- มีความเป็นปัจจุบัน
- สามารถตรวจสอบได้
- มีความสมบูรณ์ชัดเจน

7.4 บุคลากร ( People )
บุคลากร เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มผู้ใช้ อาจจะเป็นผู้มีความรู้หรือไม่มีความรู้ในการใช้ระบบเลยก็ได้ เราจะเรียกกลุ่มผู้ใช้นี้ว่า End Users ซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการออกแบบพัฒนาก็จะต้องยึดความต้องการของผู้ใช้เป็นหลัก
กลุ่มนักคอมพิวเตอร์ เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ประกอบด้วย
- ผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ ( Director Computer Manager : EDP ) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ จัดโครงการและวางแผนงานภายในหน่วยงาน
- นักวิเคราะห์ระบบ ( System Analyst : SA ) มีหน้าที่วิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบระบบงาน ตามความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด โดยนักวิเคราะห์ระบบงานนี้จะเป็นผู้ส่งงานต่อให้โปรแกรมเมอร์เพื่อเขียนต่อโปรแกรมต่อไป
- โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่ นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้
- ผู้ควบคุมเครื่อง (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร
- พนังงานจัดเตรียมข้อมูล ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานต่อไปได้ เช่น การคีย์ข้อมูลลงแผ่นดิสก์

Read Users' Comments (0)

บทที่ 6 คอมพิวเตอร์


6.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์(COMPUTER) ตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ซึ่งอาจจะหมายถึง เครื่องคำนวณที่เป็นเครื่องไฟฟ้าหรือเครื่องที่เป็นกลไกก็สามารถจัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ส่วนความหมายของคอมพิวเตอร์จากพจนานุกรมฉบับราบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการคำนวณผลในรูปแบบหนึ่ง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
6.2 ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. อนาล็อกคอมพิวเตอร์ (Analog computer)
จะมีลักษณะเป็นวงจอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนให้ทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยจะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ การรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องกันโดยรับจากแหล่งที่เกิดโดยตรงแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ ตัวอย่างของเครื่องชนิดนี้มักพบได้ในงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เช่น เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมาในรูปของกราฟ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจคลื่นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
หลักการคำนวณจะเป็นแบบลูกคิดหรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขฐานสิบก่อนแล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองแล้วให้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะมีความแม่นยำกว่าอนาล็อกคอมพิวเตอร์ ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ จึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
ข้อจำกัดของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ คือต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า “สื่อข้อมูล” ในการบันทึกข้อมูลแต่อนาล็อกคอมพิวเตอร์สามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
เป็นการนำอนาล็อกคอมพิวเตอร์และดิจิตอลคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ดียิ่งขึ้น
6.3 วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
การแบ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์นี้จะแบ่งออกเป็นยุค ๆ ตามลักษณะโครงสร้างและเทคโนโลยีของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยสามารถแบ่งได้เป็น
1. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (ค.ศ. 1951-1958)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เพราะมีขนาดใหญ่ จึงมีปัญหาเรื่องความร้อน และไส้หลอดขาดบ่อย
- ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และหลอดสุญญากาศ
- การทำงานใช้ภาษาเครื่อง (Machine Language)
- คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจคือ UNIVAC I
- ตัวอย่างของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรกได้แก่ มาร์ค วัน (MARK I) , อีนิแอค(ENIAC), ยูนิแวค(UNIVAC)
ข้อเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคแรก คือ ก่อนใช้งานต้องอุ่นให้หลอดสุญญากาศเสียก่อน จึงจะใช้งานได้ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที และเมื่ออุ่นได้ที่แล้วก็มักจะร้อนเกิดไปทันที และเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่และใช้กระแสไฟฟ้าในการทำงานเป็นจำนวนมาก จึงต้องเก็บไว้ในห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ที่สำคัญหลอดสุญญากาศนั้นมีอายุการใช้งานที่ต่ำ คือเฉลี่ยแล้วจะใช้ได้เพียง 12 ชั่วโมง เท่านั้น
2. คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (ค.ศ.1959-1964)
- เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์(Transister) แทนหลอดสุญญากาศ
- มีความเร็วที่สูงกว่า มีความถูกต้องแม่นยำและประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่า
- เครื่องมีขนาดเล็ก ใช้กำลังไฟฟ้าน้อยและราคาถูกลง
- ใช้วงแหวนแม่เหล็กที่ทำขึ้นจากสาร ferromagnetic เป็นหน่วยเก็บความจำ
- ในช่วงต้น ค.ศ. 1960 ได้เริ่มมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก และดิสก์ มาใช้ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล
3. คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (ค.ศ.1965-1971)
- เป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับคอมพิวเตอร์เพราะมีการคิดค้น วงจรรวม (Integrated Circuit) หรือ IC ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว
- เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้น และใช้กำลังไฟน้อย
- โครงสร้างของคอมพิวเตอร์มีการออกแบบที่ซับซ้อนขึ้น
- ภาษาที่ใช้ได้แก่ภาษาโคบอล(COBOL) และภาษาพีแอลวัน (PL/I)
4. คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (ค.ศ.1972-1980)
- เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integration :VLSI)
- ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงหรือไมโครคอมพิวเตอร์เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้
- ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธภาพมากขึ้น
- ใช้สื่อข้อมูลพวกเทปแม่เหล็ก หรือจานแม่เหล็ก
- ภาษาที่ใช้เป็นภาษาใหม่ ๆ เช่นภาษาเบสิก(BASIC) ภาษาปาสคาล(PASCAL)และภาษาซี (C )
- ซอฟแวร์มีการพัฒนามาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากขึ้น
5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (ค.ศ 1980-ปัจจุบัน)
- คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และแก้ปัญหา โดยจะมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องกาใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้
- คอมพิวเตอร์ยุคนี้เรียกว่า “ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) “
- มีการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้านกราฟิกอย่างแพร่หลายมากขึ้น
- ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลงและมีความเร็วสูง เช่น โน๊ตบุ๊ค (NoteBook)
- การปฏิบัติงานต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์แทนแรงงานมนุษย์
- ซอฟแวร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมาก รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์
6.4 ชนิดของคอมพิวเตอร์
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาสั้น ๆ
- เครื่องมีขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทำงานได้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- มีโครงสร้างการคำนวณพิเศษ ที่เรียกว่า เอ็มพีพี (Massivily Parallel Processing :MPP)
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframecomputer)
- มีขนาดรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์
- สาเหตุที่เรียกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ ซึ่งภายในตู้จะมีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก
- ใช้งานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
- ราคาสูงที่สุดในบรรดาคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานโดยทั่ว ๆ ไป
- มีการประมวลผลที่รวดเร็วและเก็บข้อมูลได้มหาศาล
- ต้องมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดีและอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ
- ข้อเด่นของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์คือ การทำงานโดยมีระบบศูนย์กลางและกระจายงานไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ระบบเอทีเอ็ม
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
- เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้หลายคในเวลาเดียวกัน คือสามารถเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง
- ใช้ในงานประมวลผลในงานสำหรับธุรกิจขนาดกลาง
- ขนาดเล็กกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการทำงานและราคาก็ต่ำกว่าด้วย
4. สถานีวิศวกรรม
- ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิกและนักออกแบบ
- จุดเด่นของสถานีงานวิศวกรรมคือเรื่องกราฟิก
- ราคาของสถานีวิศวกรรมจะแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก
- การใช้งานก็จะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้โดยเฉพาะ
- หากนำสถานีวิศวกรรมมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จำทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้งานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
5. ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
- เครื่องมีขนาดเล็กและมีราคาถูก อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Personal Computer:PC)หรือ พีซี
- มีทั้งแบบตั้งโต๊ะ (Desktop),แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop),ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์(Palmtop) และโน๊ตบุ้คคอมพิวเตอร์ (Note Book)
- สามารถใช้งานได้ง่าย
- สามารถใช้งานในลักษณะเครือขาย และทำหน้าที่เป็นเทอร์มินัลได้ด้วย
- มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์
6.5 หน่วยประมวลกลาง
1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :CPU) ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยมีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำด้วย ซึ่งหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียูนี้จะประกอบไปด้วย
- หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithematic and Logic Unit:ALU)
ทำหน้าที่ในการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาร และหน้าที่ในการเปรียบเทียบทางตรรกะโดยหน่วยควบคุมจะควบคุมความเร็วในการคำนวณ
- หน่วยควบคุม (Control Unit)
ทำหน้าที่ควบคุมกลไกการทำงานของระบบทั้งหมด โดยจะทำงานประสานกันกับหน่วยความจำ และหน่วยคำนวณและตรรกะ
ซีพียูหลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันคือ ไมโครชิปหรือที่เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)
2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผลลัพธ์ประเภทของหน่วยความจำสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ตามลักษณะของการเก็บข้อมูล จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory) คือในกรณีที่ไฟฟ้าดับหรือกำลังไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ข้อมูลที่เก็บไว้ก็จะหายหมด
- หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน(Nonvolatile Memory)หน่วยความจำแบบนี้จะเก็บข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร
2. ตามสภาพการใช้งาน จะแบ่งได้เป็น
- หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (Read-Only Memory :ROM)หรือรอม เป็นหน่วยความจำชนิดไม่ลบเลือน คือซีพียูสามารถอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
- หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memry :RAM) หรือแรม เป็นหน่วยความจำแบบลบเลือกได้ คือสามารถเขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้
*** หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน แต่ยอมให้มีการแก้ไขหรือลบข้อมูลได้โดยกรรมวิธีพิเศษ เรียกว่าอีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory:EPROM)
3. หน่วยความจำสำรอง (Virtual Memory)
มีเพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจำของคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ตัวอย่างหน่วยความจำสำรองได้แก่
- แผ่นบันทึกหรือแผ่นดิสต์ Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนถูกเคลือบไว้ด้วยสารเหล็กออกไซด์เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กได้ การอ่านข้อมูลของแผ่นดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะแตะที่พื้นที่ผิวของแผ่น ทำให้มีการเสื่อมคุณภาพได้เมื่อใช้งานไปนาน ๆ แผ่นบันทึกปัจจุบันมีขนาด 3.5 นิ้ว
- ฮาร์ดดิสต์ (Harddisk) การเก็บข้อมูลจะเก็บลงแผ่นโลหะอลูมิเนียมที่เคลือบด้วยสารเหล็กออกไซด์ ฮาร์ดดิสต์สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าและมีความเร็วกว่าฟลอปปี้ดิสต์ การบันทึกข้อมูลในฮาร์ดดิสต์จะแบ่งเป็นวงรอบเรียกว่า แทร็ก(Track) ซึ่งจะเป็นข้อมูลเป็นวงรอบหลาย ๆ วง การที่เราฟอร์แมต(format) ฮาร์ดดิสต์เวลาที่เราซื้อมาใหม่ ๆ นั้นก็เพื่อสร้างแทร็กนั่นเอง และในแต่ละแทร็กจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่าเซ็กเตอร์(sector) โดย 1 เซ็กเตอร์จะมีความจุเท่ากับ 512 ไบต์ การอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสต์เวลาที่อ่านหัวอ่านจะไม่แตะที่พื้นผิวของแผ่แต่จะลอยสูงจากผิวประมาณ 4 ไมครอน ซึ่งถือว่าใกล้มากจนเกือบสัมผัส
- ซีดีรอม (Compact Dist Read Only memory : CDROM) เป็นสื่อชนิดที่มีการบันทึกแล้วไม่มีการบันทึกใหม่ แต่จะมีการเรียกใช้หรืออ่านได้หลาย ๆ ครั้ง การที่จะเขียนข้อมูลลงแผ่นต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ ตัวแผ่นเป็นโลหะและใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม
4. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device)
ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เจ้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าเป็นที่รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
- แป้นพิมพ์ (Keyboard) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป
- เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์
- สแกนเนอร์ (Scanner) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้
5. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
1. จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขึ้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
- จอภาพแบบซีอาร์ที(Cathode ray tuve:CRT) จะมีลักษณะจอโค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว Monochrome Display Adapter:MDA)ต่อมามีการพัฒนาจอสี (Colr Graphic Adapter: CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเ รียกว่า จอสีภาพละเอียด (Enhance Graphic Adapter:EGA) ส่วนจอสีภาพละเอียดพิเศษ (Video Graphics Array:VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพเอ็กซ์วีจีเอ (Extra Video Graphix Array:XVGA)
- จอภาพแบบแอลซีดี (Liquid Crystal Display:LCD)
เดิมเป็นจอภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกาแต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่นโน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบแลบาง และได้พัฒนาให้มีการแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
2. เครื่องพิมพ์ (Printer) ถือเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน (อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า Hard copy ส่วนจอภาพจะเป็น Soft copy) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้ในปัจจุบันได้แก่
- เครื่องพิมพ์แบบจุด (Dot Matrix Printers) คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักเครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ(Impact printer) คือเวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก(Inkjet Printer) หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานที่ต้องการงานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer)เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
- เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์(Laser printer) หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสดงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED(Light-Emit-ting Diode) และ LCS(Liquid Crystal Shutter) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า ppm(page per minute) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (Non-impact printer) เช่นกัน
3. พล็อตเตอร์ (ploter) เป็นอุปกร์แสดงผลที่มักจะให้ใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แบบแผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์
6. อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
โมเด็ม (Modem) ย่อมาจาก (Modulator-DEModulator) ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจองโมเด็มมีหน่ายเป็นบิตต่อวินาที (Bit Per Second:BPS) โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ
- แบบ Internal คือเป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
- แบบ External เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ Internal

6.6 ระบบสื่อประสม Multimedia)
ระบบสื่อประสม คือเป็นการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแสดงได้หลาย ๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะเป็นการรวมเอาวิชาการหลาย ๆ สาขามาประยุกต์เข้าด้วยกัน ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ในงานด้านการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งเราเรียกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Assisted Instruction:CAI) ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยจะมีการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แสดงผลให้ผู้เรียนเห็นผ่านทางจอภาพที่สำคัญเทคโนโลยีนี้สามารถใช้สื่อประสมหลาย ๆ ชนิดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหวหรือเสียง สื่อการเรียนรูปแบบนี้จึงสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเพราะสามารถทราบระดับความสามารถของตนได้ทันที

Read Users' Comments (0)

บทที่ 5 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ


5.1 ระดับสารสนเทศ
1. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล เป็นระดับที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมากขึ้น เช่น โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี
2. ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน(Local Area Network:LAN) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เป็นอย่างดีและการเก็บข้อมูลก็จะเก็บอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Server) เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องการมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดการฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video Conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น
3. ระบบสารสนเทศระดับองค์กร เปรียบเสมือนกันนำเอาระบบารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสารสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลาย ๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดในองค์กร

5.2 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1.ฮาร์ดแวร์(Hardware) คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่าง ๆ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ
2. ซอฟแวร์ (Software)
คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามที่ต้องการ ซอฟแวร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- ซอฟแวร์ระบบ เป็นโปรแกรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการควบคุมการปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ (Oparating System) “ ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้จะไปควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์
รวมถึงการจัดสรรอุปกรณ์และทรัพยากรต่าง ๆ ภายในระบบให้ประสานกัน
- ซอฟแวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างหรือเฉพาะด้าน เช่นด้านการคำนวณ ด้านการจัดทำเอกสาร เป็นต้น
ปัจจุบันซอฟแวร์ได้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นมา และสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป เพราะมีราคาไม่สูงมากนัก แต่หากเป็นองค์กรใหญ่ ๆ แล้วซอฟแวร์ที่มีขายตามท้องตลาด ก็อาจจะทำงานได้ไม่ตรงกับลักษณะงานขององค์กรนั้น ๆ ก็อาจจะต้องจัดซื้อจากบริษัทที่ผลิตซอฟแวร์โดยตรง ซึ่งก็จะมีราคาแพง
3. ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ถ้าข้อมูลไม่ดีก็จะก่อผลเสียต่อองค์อย่างยิ่ง ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
4. บุคลากร (People) ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ พนักงานคอมพิวเตอร์ ผู้ควบคุมระบบโปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบจนถึงผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ล้วนแต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Process) จะต้องมีการวางแผนให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องสัมพันธ์กันทั้งบุคลากรและเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความถูกต้องสมบูรณ์

Read Users' Comments (0)

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ


4.1 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
- การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นคว้าหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้นและกว้างขวางไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ
- การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันก็สามารถทำได้หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันหรือใช้เวลาน้อยลงเป็นต้น
- การดำเนินธุรกิจ จะทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้นทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน
- ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น และงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟแวร์ (Software)
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการข้อมูลและติดต่อสื่อสาร

4.2 พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ
พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะต้องประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้แก่
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟแวร์ (software)
- ข้อมูล (Data)
- บุคลากร (People)
2. โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้ (Programmers ,System Analyst และ User)
เป็นบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะมีหน้าที่เขียนโปรแกรมตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ ส่วนผู้ใช้จะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มากที่สุด
3. หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูล
หน่วยรับข้อมูล ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ประมวลผลและควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
หน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล
หน่วยเก็บข้อมูล ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รอทำการประมวลผล และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการ
ประมวลผลในระหว่างที่รอส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. การจัดการข้อมูล ซึ่งหมายถึงแฟ้มข้อมูล
5. การประมวลผล ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
- การรวบรวมข้อมูล
- การประมวลผล
- การดูแลรักษา

4.3 เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ
1. เทคโนโลยีระบบสารสนเทศ จะมีความสามารถในด้านการจัดการสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นบันทึกการแก้ไข การจัดทำรายงาน งานบัญชี งานลงทะเบียน ซึ่งแล้แต่ระบบที่องค์กรนั้น ๆ ใช้ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศนี้จะทำให้องค์กรได้รับความสะดวกในการทำงานหรืออาจใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจด้วยก็ได้
2. เทคโนโลยีระบบเครือข่าย เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เริ่มใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะได้รับความสะดวก และมีประโยชน์หลายประการด้วยกัน เช่น
- สามารถติดต่อถึงกันได้ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
- การจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมไว้ที่เดียว ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็สามารถดึงข้อมูลนั้นไปได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
- องค์กรสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ เพราะระบบเครือข่ายเป็นระบบที่สามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้
- สามารถทำงานร่วมกันได้ หรือทำงานโดยใช้เอกสารชุดเดียวกัน
3. เทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ เป็นการนำระบบเครือข่ายมาใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงาน ทำให้
- พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)
- การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารหรืองานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถที่จะบันทึกไว้เป็นแฟ้ม อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ง่ายต่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น
- การออกแบบต่าง ๆ มีโปรแกรม ที่ช่วยในการออกแบบและมีการใช้งานที่ง่ายขึ้น
- มีระบบฝากข้อความเสียง (Voice Mail)
- การประชุมทางไกล (Video Teleconference)
4. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือที่เรียกว่า CAI ปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมในวงการศึกษาเป็นอย่างมาก โรงเรียนและสถานศึกษาก็เริ่มมีการพัฒนาจัดทำโปรแกรมบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้งานเองซึ่งก็เป็นผลดีต่อนักเรียนที่จะได้มีสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยและมีความน่าสนใจ

4.4 การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การนำมาประยุกต์ใช้ จะต้องคำนึงถึงผลที่ได้รับปละผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
2. การวางแผนที่ดี เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
3. มาตรฐานการใช้ ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแล ไม่ควรปล่อยปละละเลยหรือใช้ไปในทางที่ไม่ถูก
4. การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่จะได้รับด้วย หากประโยชน์ที่จะได้นั้นไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะต้องมีการปรับแผนการเสียใหม่
5. การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ใข้อมูลเกิดการซ้าซ้อนกันเองภายในหน่วยงานเจัาหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องควรดูแลให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันใช้เพื่อให้มีการทำงานร่วมกันและมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
6. การรักษาความปลอดภัยของระบบ เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีการใช้ร่วมกัน ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้เข้าใช้ระบบในขอบเขตที่สมควรของแต่ละคน

Read Users' Comments (0)

บทที่ 3 การจัดการข้อมูลแะสารสนเทศ



3.1 โครงสร้างของการจัดข้อมูล
โครงสร้างของข้อมูล จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. อักขระ (Character) ซึ่งเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์พิเศษ อักขระนี้เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของข้อมูล ซึ่งมักจะไม่มีความหมายเพราะเป็นเพียงหน่วยย่อย ๆ เท่านั้นเอง
2. เขตข้อมูล (Field) เป็นหน่วยข้อมูลที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใดความหมายหนึ่ง เขตข้อมูลจะเกิดจากการนำอักขระที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ชื่อ นามสกุล ก็ทำให้ทราบได้ว่าเป็นบุคคลใด
3. ระเบียนข้อมูล (Record) เกิดจากการนำเอาเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันมารวมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ชื่อ-นามสกุล ของนักเรียนกับคะแนนจากการสอบ
4. แฟ้มข้อมูล (File) เกิดจากการรวมระเบียนหลาย ๆ ระเบียนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน เช่น แฟ้มข้อมูลของนักเรียนชั้น ม.4/1 ก็จะรวบรวมข้อมูลของนักเรียนเฉพาะ ม.4/1 เท่านั้น
5. ฐานข้อมูล (Daabase) เกิดจากแฟ้มข้อมูลรวมกัน โดยใช้หลักการเพื่อไม่ให้ข้อมูลเกิดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ เช่น ฐานข้อมูลของนักเรียนโรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม เป็นต้น
3.2 ประโยชน์ของการจัดข้อมูล
1. สามารถค้นข้อมูล/สารสนเทศที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลและทำการปรับปรุง (Update) ข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา
2. สามารถประมวลผลชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลได้
3. สามารถสร้าง ตั้งชื่อและเก็บแฟ้มข้อมูลเมื่อไม่มีความจำเป็นในการใช้งานแล้ว
4. สามารถสร้างสำเนา ย้ายและลบแฟ้มข้อมูลเมื่อไม่มีความจำเป็นในการใช้งานแล้ว
5. สามารถทำการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
6. สามารถรับแฟ้มข้อมูลจากโปรแกรมอื่นเข้ามาสู่แฟ้มข้อมูลเพื่อการใช้งานร่วมกันได้
3.3 การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล
1. แฟ้มลำดับ (Sequential File) การจัดเรียงข้อมูลเป็นไปตามลำดับก่อนหลัง เช่น เรียงจากมากไปหาน้อย (Descending) หรือจากน้อยไปหามาก (Ascending) แฟ้มลำดับนี้ถือเป็นการเก็บข้อมูลแบบพื้นฐานที่สุด เหมาะกับงานที่มีข้อมูลจำนวนมากและมีการปรับปรุงพร้อม ๆ กับการประมวลผลคอมพิวเตอร์จะต้องอ่านข้อมูลเรียงลำดับตั้งแต่ตัวแรกไปทีละตัวจนกว่าจะถึงข้อมูลตัวที่ต้องการ
2. แฟ้มสุ่ม (Random File) แฟ้มสุ่มนี้ การอ่านหรือเขียนข้อมูลผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับจากข้อมูลตัวแรก แต่ข้อมูลแต่ละรายการจะมีคีย์หลักประจำ เวลาที่ต้องการค้นหาข้อมูลสามารถดึงข้อมูลออกมาได้โดยตรง การเข้าถึงข้อมูลจึงทำได้เร็วกว่าแฟ้มลำดับ
3. แฟ้มดัชนี (Index File) แฟ้มดัชนีนี้จะต้องเก็บข้อมูลโดยจัดเป็นกลุ่มดัชนีเสียก่อน การค้นหาข้อมูลก็จะวิ่งไปหาข้อมูลที่ต้องการเมื่อพบแล้วก็ดึงเอาข้อมูลที่ต้องการออก การเรียกใช้ข้อมูลก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว
3.4 ประเภทแฟ้มข้อมูล
1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลที่สำคัญ ๆ ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงย่อย ๆ เช่นแฟ้มข้อมูลสินค้าคง
เหลือ
2. แฟ้มรายการปรับปรุง เป็นแฟ้มที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา รายการต่าง ๆ ในแฟ้มรายการปรับปรุงนี้จะต้องนำไปปรับปรุงแฟ้มข้อมูลหลัก เพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ แฟ้มรายการปรับปรุงนี้จึงเป็นแฟ้มชั่วคราว เมื่อมีการสรุปข้อมูลแล้วก็จะลบทิ้งไป เช่นแฟ้มใบเสร็จรับเงิน ซึ่งต้องมีการบวกรวมยอดในทุก ๆ วัน
3.5 ลักษณะการประมวลผลข้อมูล
การประมวลผลข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
1. การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้เป็นกลุ่ม ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่นการคิดค่าไฟในแต่ละเดือน ข้อมูลการใช้ของมิเตอร์แต่ละตัวก็จะถูกเก็บไว้จนถึงกำหนดการคิดเงินจึงจะมีการประมวลผลเพื่อคิดค่าไฟที่ลูกค้าต้องจ่าย เป็นต้น
2. การประมวลผลแบบทันที (Transaction processing) เป็นการประมวลผลในทันทีเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง เช่นการตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ จำนวนสินค้าในสต๊อกก็จะมีการ Update ตามไปด้วย ดังนั้นผู้ขายจึงสามารถทราบได้ว่าสินค้ารายการใดหมดหรือไม่เพียงพอต่อการขาย
3.6 ระบบการจัดการฐานข้อมูล
1. การจัดการฐานข้อมูล (Database Management) หมายถึง การบริหารแหล่งข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้เพื่อทำให้สาามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management Syatem: DBMS) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลในส่วนของการสร้างและการบำรุงรักษา
3. ระบบการจัดการฐานข้อมูลประกอบด้วย
3.1 ภาษาคำนิยามของข้อมูล จะเป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล
3.2 ภาษาการจัดการข้อมูล เป็นภาษาเฉพาะที่ใช้ในการจัดการระบบฐานข้อมูล
3.3 พจนานุกรมข้อมูล เป็นแหล่งเก็บโครงสร้างของข้อมูลในระบบ เช่น ชนิดข้อมูล ขนาดข้อมูล ผู้มีสิทธิใช้ข้อมูล ผู้รับผิดชอบ เป็นต้น
3.7 ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
2. สามารถใช้สารสนเทศร่วมกันได้
3. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสามารถทำได้สะดวกและถูกต้อง
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและเรียกใช้สารสนเทศ
5. ให้ความปลอดภัยในการใช้ระบบเพราะจะมีการจำกัดสิทธิ
6. มีการควบคุมมาตรฐานการใช้งานจากศูนย์กลาง

Read Users' Comments (0)

บทที่ 2 ข้อมูลและสารสนเทศ ตอนที่ 2


2.5 รหัสแทนข้อมูล


1. รหัสแอสกี (ASCII)


เป็นรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รหัสแอสกีเป็นรหัสมาตรฐานที่ได้จากหน่วยงานกำนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา (ASCII ย่อมากจาก American Standard Code for Information Interchange) เป็นรหัส 8 บิต หรือ 1 ไบต์ต่อหนึ่งอักขระและแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ 256 ตัว


รหัสแอสกี้จะกำหนดไว้เป็นเลขฐานสิบเมื่อจะนำไปสู่หน่วยความจำคอมพิวเตอร์จึงจะแปลงเป็นเลขฐานสอง สำหรับผู้ใช้สามารถที่จะเขียนในรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย


ตารางแสดงรหัสแอสกีที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ



























































































































































































































































































































































เลขฐานสอง


เลขฐานสิบ


อักขระ


เลขฐานสอง


เลขฐานสิบ


อักขระ


00100000


32


Spc


01010000


80


P


00100001


33


!


01010001


81


Q


00100010


34



01010010


82


R


00100011


35


#


01010011


83


S


00100100


36


$


01010100


84


T


00100101


37


%


01010101


85


U


00100110


38


&


01010110


86


V


00100111


39


?


01010111


87


W


00101000


40


(


01011000


88


X


00101001


41


)


01011001


89


Y


00101010


42


*


01011010


90


Z


00101011


43


+


01011011


91


[


00101100


44



01011100


92


1/3


00101101


45


-


01011101


93


]


00101110


46


.


01011110


94


¾


00101111


47


/


01011111


95


-


00110000


48


0


01100000


96


2


00110001


49


1


01100001


97


a


00110010


50


2


01100010


98


b


00110011


51


3


01100011


99


c


00110100


52


4


01100100


100


d


00110101


53


5


01100101


101


e


00110110


54


6


01100110


102


f


00110111


55


7


01100111


103


g


00111000


56


8


01101000


104


h


00111001


57


9


01101001


105


I


00111010


58


:


01101010


106


j


00111011


59


;


01101011


107


k


00111100


60


<


01101100


108


l


00111101


61


=


01101101


109


m


00111110


62


>


01101110


110


n


00111111


63


?


01101111


111


o


01000000


64


@


01110000


112


p


01000001


65


A


01110001


113


q


01000010


66


B


01110010


114


r


01000011


67


C


01110011


115


s


01000100


68


D


01110100


116


t


01000101


69


E


01110101


117


u


01000110


70


F


01110110


118


v


01000111


71


G


01110111


119


w


01001000


72


H


01111000


120


x


01001001


73


I


01111001


121


y


01001010


74


J


01111010


122


z


01001011


75


K


01111011


123


¼


01001100


76


L


01111100


124


:


01001101


77


M


01111101


125


2/3


01001110


78


N


01111110


126


3


01001111


79


O






2. รหัสเอบซีดิก


มีการกำหนดรหัสเป็น 8 บิต เหมือกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสจะมีความแตกต่างกัน รหัสเอบซีดิกพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม (EBCDIC ย่อมาจาก Extemded Bimary Coded Decimal Interchang Code)


ตารางแสดงรหัสเอบซีดิกที่ใช้แทนอักขระต่าง ๆ



























































































































































































































































































































































เลขฐานสอง


เลขฐานสิบ


อักขระ


เลขฐานสอง


เลขฐานสิบ


อักขระ


01000000


64


Spc


10100011


163


t


01001010


74



10100100


164


u


01001011


75


.


10100101


165


v


01001100


76


<


10100110


166


w


01001101


77


(


10100111


167


x


01001110


78


+


10101000


168


y


01001111


79


½


10101001


169


z


01010000


80


&


11000000


192


¼


01011010


90


!


11000001


193


A


01011011


91


$


11000010


194


B


01011100


92


*


11000011


195


C


01011101


93


)


11000100


196


D


01011110


94


;


11000101


197


E


01011111


95


-


11000110


198


F


01100000


96


-


11000111


199


G


01100001


97


/


11001000


200


H


01101010


106


½


11001001


201


I


01101011


107


,


11010000


208


2/3


01101100


108


%


11010001


209


J


01101101


109


-


11010010


210


K


01101110


110


>


11010011


211


L


01101111


111


?


11010100


212


M


01111010


122


:


11010101


213


N


01111011


123


#


11010110


214


O


01111100


124


@


11010111


215


P


01111101


125


š


11011000


216


Q


01111110


126


=


11011001


217


R


01111111


127


š


11100000


224


1/3


10000001


129


a


11100010


226


S


1000010


130


b


11100011


227


T


10000011


131


c


11100100


228


U


10000100


132


d


11100101


229


V


10000101


133


e


11100110


230


W


10000110


134


f


11100111


231


X


10000111


135


g


11101000


232


Y


10001000


136


h


11101001


233


Z


10001001


137


I


11110000


240


0


10010001


145


j


11110001


241


1


10010010


146


k


11110010


242


2


10010011


147


l


11110011


243


3


10010100


148


m


11110100


244


4


10010101


149


n


11110101


245


5


10010110


150


o


11110110


246


6


10010111


151


p


11110111


247


7


10011000


152


q


11111000


248


8


10011001


153


r


11111001


249


9


10100001


161


3


11111010


250


½


10100010


162


s






2.6 การแปลงฐานเลข


1. การแปลงเลขฐานสิบเป็นเลขฐาน 2 และฐาน 8


จงเปลี่ยน 47 ฐาน 10 เป็นเลขฐาน 2


วิธีทำ 2)47


2)23 เศษ 1


2)11 เศษ 1


2)5 เศษ 1


2)2 เศษ 1


2)1 เศษ 0


0 เศษ 1


คำตอบคือ (101111)2 = 47



จงเปลี่ยน 103 ฐาน 10 ให้เป็นเลขฐาน 8


วิธีทำ 8)103


8)12 เศษ 7


8)1 เศษ 4


0 เศษ 1


คำตอบคือ (147)8 = 103


2. การแปลงเลขฐานอื่น ๆ มาเป็นเลขฐานสิบ


จงเปลี่ยน (147)8 ให้เป็นเลขฐาน 10


วิธีทำ (147)8 = (1 x 8 2) + ( 4 x 81) + (7 x 80)


= 64 + 32 + 7


= 103


จงเปลี่ยน (101111)2 ให้เป็นเลขฐาน 10


วิธีทำ (101111)2 = (1 x 25) + ( 0 x 24) + (1 x 23) + (1 x 22) + ( 1 x 21) + (1 x 20)


= 32 + 0 + 8 + 4 + 2 + 1


= 47


Read Users' Comments (0)